ป้ายกำกับ

Google (13) forum (12) webboard (12) กระดานสนทนา (12) ethic (10) มารยาท (10) politic (9) การเมือง (9) election (6) life (6) life style (6) local (6) การเลือกตั้ง (6) ชีวิต (6) ท้องถิ่น (6) cartoon (5) history (5) การ์ตูน (5) ประวัติศาสตร์ (5) แบบแผนชีวิต (5) family (4) freetalk (4) manga (4) strategy (4) war (4) ยุทธศาสตร์ (4) สงคราม (4) สนทนาทักทาย (4) data (3) download (3) sun tzu (3) ข้อมูล (3) ครอบครัว (3) ซุนวู (3) ระเบียบวิธี (3) Algorithm (2) administration (2) art (2) book (2) buddhist (2) business (2) chatroom (2) fiction (2) instruction (2) learning (2) management (2) methodology (2) monk (2) philosophy (2) search (2) society (2) technology (2) thai (2) website (2) การเรียนรู้ (2) ค้นหา (2) จัดการ (2) ธุรกิจ (2) นิยาย (2) บริหาร (2) ปรัชญา (2) พระสงฆ์ (2) พุทธศาสนา (2) ภาษาไทย (2) วิธีใช้ (2) สังคม (2) หนังสือ (2) ห้องสนทนา (2) เทคโนโลยี (2) E-mail (1) Facebook (1) Gmail (1) Thailand (1) Twitter (1) Youtube (1) ads (1) artbook (1) artist (1) birthplace (1) blog (1) city (1) communication (1) computer (1) concubine (1) discuss (1) eating (1) fallacy (1) father (1) focus (1) food (1) future (1) growth (1) height (1) homeland (1) ink (1) internet (1) introduce (1) language (1) lie (1) logic (1) marketing (1) morale (1) open (1) paper (1) parents (1) political party (1) printer (1) procedure (1) profile (1) reader (1) scan (1) service (1) spam (1) start (1) studybook (1) sufficient (1) system (1) thanks (1) thin (1) three kingdoms (1) topic (1) traveling (1) uthaithani (1) video (1) weblog (1) webmaster (1) weight (1) กระดาษ (1) กระทู้ (1) การกิน (1) การตลาด (1) การสื่อสาร (1) การเดินทาง (1) การเติบโต (1) ขยะข้อมูล (1) ขอบคุณ (1) ข้อปฏิบัติ (1) คติธรรม (1) ความสูง (1) คอมพิวเตอร์ (1) ตรรกะวิบัติ (1) ตรรกะศาสตร์ (1) ตระกูล (1) ตอแหล (1) นักอ่าน (1) น้ำหนัก (1) บรรพชน (1) บริการ (1) บ้านเกิด (1) บ้านเกิดเมืองนอน (1) ประเทศไทย (1) ผอม (1) พรรคการเมือง (1) พอเพียง (1) พ่อ (1) ภาษา (1) มุมมอง (1) ระบบ (1) วิจารณ์ (1) ศิลปิน (1) ศีลธรรม (1) สามก๊ก (1) หมึก (1) อนาคต (1) อาหาร (1) อุทัยธานี (1) เครื่องพิมพ์ (1) เมียน้อย (1) เมือง (1) แนะนำตัว (1) แบบเรียน (1) โฆษณา (1)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบแห่งอนาคต+รู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร(Google Lab)

• ระบบแห่งอนาคต: Google Lab
ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้ร่วมกำหนดด้วยว่าฟังก์ชันใดบ้างที่ควรจะเป็นฟังก์ชันมาตรฐานของ Google ในอนาคต ปัจจุบันนี้ได้มีการทดลองใช้ฟังก์ชันหลายๆ ตัวที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาสำหรับอนาคตใน Goolge Lab และยิ่งกว่าไปนั้นยังมีการทดลองผ่านทางโทรศัพท์อีกด้วย
แผนกพัฒนาประสิทธิภาพในบริษัทหลายแห่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง สำหรับ Google ก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จะถูกเก็บไว้เป็น ความลับ แต่อย่างไรก็ตาม Google ก็ยังเผยความ คืบหน้ามาให้เห็นได้ในหน้า Google-Labs (http://labs.google.com) ซึ่งวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Google จะแสดงแนวคิดออกมาให้คนทั่วไปได้รับ ทราบ และมีการทดสอบหรือทดลองแนวความคิดดังกล่าว และที่หน้านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ในการทดสอบเท่านั้นคุณยังสามารถที่จะได้ทดลองใช้งานฟังก์ชันใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นมา และวิจารณ์ได้อีกด้วย เพื่อให้ทีมงานที่พัฒนาระบบจะได้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าแนวความคิดดังกล่าวเหมาะที่จะนำมาใช้ใน Search Engine เพียงใด
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน Google โดยใช้ชอร์ตคัตในการทำงานแทนการใช้เมาส์เหมือนดังเช่นปกติ สามารถดูข้อมูลดังกล่าวได้ในหน้า http://labs.google.com/keys หรือในทางตรงกันข้าม สำหรับพวกที่ขี้เกียจหรือต้องการความสะดวกสบายในการค้นหาก็สามารถใช้ Google Viewer ช่วยได้ (http://labs.google.com/gvie wer.html) โดย Google Viewer จะแสดงรายการหน้าเว็บไซต์ที่หาพบในรูปของสไลด์โชว์ แต่ฟังก์ชันดังกล่าวก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงเรื่อง ความคุ้มค่าและผลประโยชน์โดยแท้จริง แต่หลายๆ คนในทีมงานของ Google Lab ยังให้ความเห็นว่า แม้ว่า Google จะถูกพัฒนาให้มีประโยชน์ สูงสุดเพียงใด แต่สำหรับผู้ใช้บางคนเพียงแค่ความสนุกสนานเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับก็นับได้ว่า คุ้มค่ากับการใช้งานแล้ว
Google-Glossar เป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่ช่วยให้ การทำงานง่ายขึ้น (http://labs.google.com/glos sary) ซึ่งคุณสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของตัวย่อหรือคำจำกัดความต่างๆ ได้ เช่น ในการค้นหาคำว่า U.N.Ž แสดงให้คุณรู้ว่าเป็นตัว ย่อของ United Nations, เป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้น เมื่อปี 1945 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ ความมั่นคงปลอดภัย และดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน

• ไปด้วยกัน : Google รู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
ยอดเยี่ยมยิ่งไปกว่าฟังก์ชันอื่นๆ คงต้องเป็น Google Sets (http://labs.google.com/sets) ที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติ เช่น หากคุณต้องการค้นหารายชื่อประธานาธิบดีของอเมริกาทั้งหมด สิ่งที่คุณต้องทำมีเพียง ใส่ชื่อของ George W. Bush หรือ Bill Clinton ลงไป แล้วคลิกที่ "Large Set" จากนั้นรายชื่อของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในอดีตจนถึงปัจจุบันก็จะถูกแสดงออกมาให้คุณเห็น ซึ่งเมื่อคุณคลิกที่ชื่อแต่ละชื่อก็จะเป็นการค้นหาตามรายชื่อนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง ยิ่งคุณใส่ชื่อตั้งต้นไว้มาก เท่าใด (คุณสามารถใส่ได้มากที่สุด 5 ชื่อ) ผลการ ค้นหาที่ออกมาก็จะดีขึ้นเท่านั้น
นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีฟังก์ชันน้องใหม่อีกสองตัวที่อยู่ในห้องทดลองของ Google อีกด้วยคือ "Google News Alert" และ "Google Search by Location" โดย Google News Alert มีความสามารถในการรวบรวมข่าวสารของ Google News ในอเมริกาและส่งไปยังอีเมล์ของผู้ที่สนใจ ต่อไป เพียงแค่คุณใส่ชื่อหัวข้อเรื่องที่คุณต้องการได้รับข่าวสารไว้ก่อนเท่านั้น (เช่น "Iraq")
สำหรับฟังก์ชัน Google Search by Location อาจจะไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเท่าใดนัก เพราะฟังก์ชันดังกล่าวเป็นการค้นหาคำจำกัดความต่างๆ ในระดับท้องถิ่น (Local Level) แต่ทำ ได้เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น Google ยังได้เตรียมฟังก์ชันใหม่ๆ เอาไว้อีกหลายอย่าง เช่น ความสามารถในการคำนวณค่าเงินตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานสภาพอากาศของท้องถิ่นต่างๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและอื่นๆ อีกมาก โฆษกของทางบริษัทได้กล่าวถึงความตั้งใจทั่วไปว่า เราต้องการที่จะทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถได้รับข้อมูลตามที่ต้องการŽ ซึ่งการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องกลั่นกรองผลการค้นหาให้เรียบร้อยที่สุด และไม่ปล่อยให้มี สแปมหลุดรอดเข้ามาอยู่ในผลที่ค้นหาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น