ป้ายกำกับ

Google (13) forum (12) webboard (12) กระดานสนทนา (12) ethic (10) มารยาท (10) politic (9) การเมือง (9) election (6) life (6) life style (6) local (6) การเลือกตั้ง (6) ชีวิต (6) ท้องถิ่น (6) cartoon (5) history (5) การ์ตูน (5) ประวัติศาสตร์ (5) แบบแผนชีวิต (5) family (4) freetalk (4) manga (4) strategy (4) war (4) ยุทธศาสตร์ (4) สงคราม (4) สนทนาทักทาย (4) data (3) download (3) sun tzu (3) ข้อมูล (3) ครอบครัว (3) ซุนวู (3) ระเบียบวิธี (3) Algorithm (2) administration (2) art (2) book (2) buddhist (2) business (2) chatroom (2) fiction (2) instruction (2) learning (2) management (2) methodology (2) monk (2) philosophy (2) search (2) society (2) technology (2) thai (2) website (2) การเรียนรู้ (2) ค้นหา (2) จัดการ (2) ธุรกิจ (2) นิยาย (2) บริหาร (2) ปรัชญา (2) พระสงฆ์ (2) พุทธศาสนา (2) ภาษาไทย (2) วิธีใช้ (2) สังคม (2) หนังสือ (2) ห้องสนทนา (2) เทคโนโลยี (2) E-mail (1) Facebook (1) Gmail (1) Thailand (1) Twitter (1) Youtube (1) ads (1) artbook (1) artist (1) birthplace (1) blog (1) city (1) communication (1) computer (1) concubine (1) discuss (1) eating (1) fallacy (1) father (1) focus (1) food (1) future (1) growth (1) height (1) homeland (1) ink (1) internet (1) introduce (1) language (1) lie (1) logic (1) marketing (1) morale (1) open (1) paper (1) parents (1) political party (1) printer (1) procedure (1) profile (1) reader (1) scan (1) service (1) spam (1) start (1) studybook (1) sufficient (1) system (1) thanks (1) thin (1) three kingdoms (1) topic (1) traveling (1) uthaithani (1) video (1) weblog (1) webmaster (1) weight (1) กระดาษ (1) กระทู้ (1) การกิน (1) การตลาด (1) การสื่อสาร (1) การเดินทาง (1) การเติบโต (1) ขยะข้อมูล (1) ขอบคุณ (1) ข้อปฏิบัติ (1) คติธรรม (1) ความสูง (1) คอมพิวเตอร์ (1) ตรรกะวิบัติ (1) ตรรกะศาสตร์ (1) ตระกูล (1) ตอแหล (1) นักอ่าน (1) น้ำหนัก (1) บรรพชน (1) บริการ (1) บ้านเกิด (1) บ้านเกิดเมืองนอน (1) ประเทศไทย (1) ผอม (1) พรรคการเมือง (1) พอเพียง (1) พ่อ (1) ภาษา (1) มุมมอง (1) ระบบ (1) วิจารณ์ (1) ศิลปิน (1) ศีลธรรม (1) สามก๊ก (1) หมึก (1) อนาคต (1) อาหาร (1) อุทัยธานี (1) เครื่องพิมพ์ (1) เมียน้อย (1) เมือง (1) แนะนำตัว (1) แบบเรียน (1) โฆษณา (1)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"พรทิพย์ กองชุน"เปิดแผนปฏิบัติการปักธง"กูเกิล"ในไทย

เร่งผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการรองรับการใช้งานบนมือถือมากขึ้น เหตุทิศทางตลาดทั่วโลกชัดเจนผู้ใช้มือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์แน่นอน คุยปัจจุบันกูเกิลมีส่วนแบ่งการตลาดเสิร์ชในไทยถึง 98%

"ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าการใช้สมองจดจำข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ดูเหมือนจะน้อยลงไป คนจำนวนมากฝากความรู้ข้อมูลทุกอย่างไว้กับ "กูเกิล" เรียกว่าคิดอะไรไม่ออกก็ถามพี่กู หรืออาจารย์กู เป็นคำตอบสุดท้าย

ที่ผ่านมาคนไทยคุ้นเคยกับ "กูเกิล" ในแง่ของการเป็นเสิร์ชเอ็นจิ้น ค้นหาข้อมูลทุกสิ่งอย่าง แต่นั่นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมายที่กูเกิลใช้ต่อยอดจากเสิร์ชเอ็นจิ้นเพื่อสร้างรายได้ 

ปีที่ผ่านมาต้องถือว่า "กูเกิล" รุกคืบเข้ามาในตลาดเมืองไทยอย่างมาก แม้วันนี้จะไม่มีการเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีคนไทยที่ทำงานกับกูเกิลทั่วโลกแล้วกว่า 100 คน โดยส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของเซาท์อีสต์เอเชีย

รวมถึง "พรทิพย์ กองชุน" หัวหน้ากลุ่มการตลาดประจำประเทศไทย ของกูเกิล อีกหนึ่งคนไทยที่ได้เข้าร่วมงานกับกูเกิล เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา และ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเธอในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับการรุกคืบของ "กูเกิล" ในเมืองไทย 
@ บทบาทหน้าที่ในกูเกิล
รับ ผิดชอบด้านการตลาดของกูเกิลในประเทศไทย และภาพรวมของประเทศอื่นในเซาท์อีสต์เอเชียบางส่วน แต่หลัก ๆ โฟกัสที่ไทย ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่กูเกิลเข้ามาทำตลาดในไทยค่อนข้างชัดเจน ทั้งการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเยอะกว่าประเทศอื่น ๆ

@การขยับตัวของกูเกิลในช่วงปีที่ผ่านมา
กลุ่ม ธุรกิจหลักของกูเกิลแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ กลุ่มลูกค้าที่ลงโฆษณา เรียกว่า adwards กลุ่มที่ 2 บริการ adsense สำหรับกลุ่มเจ้าของเว็บไซต์ เป็นบริการที่ให้เว็บไซต์ต่าง ๆ นำโฆษณากูเกิลไปติดไว้บนเว็บไซต์ เมื่อมีคนเข้าเว็บ และคลิกโฆษณาดังกล่าว เว็บนั้นจะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากกูเกิล เป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ 

กลุ่มที่ 3 คือผู้ใช้งานทั่วไป ในส่วนนี้กูเกิลจะมีบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่จีเมล์, กูเกิลแมป, กูเกิลเอิร์ธ, กูเกิลทรานสเลต แต่ไม่ใช่ว่าเมืองไทยจะเอามาทั้งหมด ต้องศึกษาว่าสินค้าไหนตรงกับความต้องการของคนไทย ก็จะพัฒนาเป็นภาษาไทย บางตัวจะให้บริการพิเศษเฉพาะบางประเทศ เช่น กูเกิลกูรู (GURU) ซึ่งพัฒนามาจาก Q&A ใครก็ได้มาถาม และตอบเพื่อเป็นการสร้างแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับโลกออนไลน์ ตอนนี้ให้บริการในจีน รัสเซีย และไทย 

@ทำไมเลือกประเทศไทย
เพราะมองว่า เว็บไซต์ในประเทศไทย ถ้าเทียบกับประเทศอื่นยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่คนที่เข้ามาทำคอนเทนต์มีความต้องการคอนเทนต์ดี ๆ อีกมาก สังเกตจากเวลาค้นหาข้อมูลจะหาคำตอบสักเรื่อง เว็บไซต์ที่จะให้บริการข้อมูลดีไม่ค่อยมี เราพยายามสร้างตรงนี้ จึงสร้างเป็นกูเกิลกูรูของเมืองไทย เป็นการกลายพันธุ์จากตัวฟอรั่มอย่างเว็บพันทิป ก็มีข้อมูลดี ๆ แต่เวลาเสิร์ชจะไม่ค่อยพบ เพราะพันทิปไม่ได้เก็บข้อมูลไว้

เราจึงมองว่าเมืองไทยต้องการข้อมูลตรงนี้เพิ่มขึ้น กูรูเป็นอีกเครื่องมือที่มาตอบโจทย์ตรงนี้

การเลือกว่าจะนำบริการอะไรเข้ามาในไทย อย่างบริการกูรู เราวิเคราะห์ว่าจำนวนเว็บ จำนวนคอนเทนต์ของประเทศเป็นอย่างไร ซึ่งในไทยมีเว็บไม่มาก และเว็บที่มีประโยชน์จริง ๆ ก็ยังมีไม่มากเช่นกัน

ประเทศไทยถือเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ในการพัฒนา อยู่ในกลุ่มภาษาที่มีการพัฒนา 40 ภาษาแรก ที่มีการแปลเพื่อรองรับลูกค้า

นอกจากนี้ก็จะมีการนำข้อมูลท้องถิ่นเข้ามาเสริม เช่น กูเกิลแมป แพลตฟอร์มเหมือนกันทั่วโลก แต่ข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถานที่ ร้านอาหาร รายชื่อธุรกิจ สถานที่ท่องเที่ยว ต้องร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น เพื่อเอาข้อมูลมาใส่ในกูเกิลแมป

@กูเกิลแมปเป็นโปรดักต์ไฮไลต์ในปีที่ผ่านมา
กูเกิลแมปเป็นอะไรที่ทำเยอะมาก ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือน ก.พ. เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีทั้งข้อมูล และภาษาไทยรองรับ maps.google.co.th ตอนแรกเป็นฟีเจอร์ปกติ เช่น ค้นหาสถานที่ รายชื่อธุรกิจ เส้นทาง ช่วงปลายปีที่ผ่านมามีการเพิ่มเติมเรื่องเส้นทางจราจร ทั้งรถเมล์ บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน เรือด่วน ซึ่งมีการร่วมมือกับพันธมิตรหลายหน่วยงานเพื่อสนับสนุนข้อมูล

แม้จะมีพาร์ตเนอร์ช่วยสนับสนุนข้อมูลที่ใส่บนกูเกิลแมปแล้ว แต่ยังไม่พอ และกูเกิลแมปเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไป หรือภาคธุรกิจ นำเข้าข้อมูลมาใส่ได้ด้วยตัวเองผ่านฟีเจอร์ "my map" สิ่งที่เรายังไม่ได้โปรโมต คือ ภาคธุรกิจนำไปใส่ได้เช่นกัน เช่น ร้านค้า เพราะคนไทยหาร้านอาหารผ่านกูเกิลแมปเยอะ แต่ภาคธุรกิจต้องการความน่าเชื่อถือมากขึ้น จึงมี "โลคอล บิสซิเนส เซ็นเตอร์" คล้ายกูเกิลแมป แต่มีรูปแบบให้คือ ชื่อร้าน ที่อยู่ อีเมล์ เบอร์โทร. โปรโมชั่น เพื่อกรอกข้อมูล รายละเอียด และกูเกิลจะตรวจสอบว่าธุรกิจนั้นมีจริงหรือเปล่า โดยการโทร.กลับไปเช็กเพื่อให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ

โดยผู้ประกอบการทำแค่ครั้งเดียว จากนั้นข้อมูลจะปรากฏบนกูเกิล เหมือนการโปรโมตผ่านกูเกิลแมป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะเอสเอ็มอีในไทยบางรายยังไม่มีเว็บไซต์ ดังนั้นก็มาโปรโมตได้ อัพภาพ วิดีโอสินค้าในกูเกิลแมปได้ ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่หาข้อมูลได้ แต่เป็นทั่วโลก
@1 ปีที่เข้ามาทำตลาดเชิงรุก เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
การ เปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนประเทศไทยเป็น "strategic country" ที่กูเกิลให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในอาเซียน จากปี 2008 เราเห็นโอกาส พอปี 2009 จึงมีการเพิ่มคนทำงานมากขึ้น ทั้งทีมการตลาด พี.อาร์. เข้ามาทำกิจกรรมการตลาดทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากเมื่อเปรียบกับปีก่อนหน้า
อย่างกลุ่มลูกค้า ที่ลงโฆษณาใน adwards ก็มีมากขึ้น เดิมเวลาเสิร์ช ด้านขวามือลิงก์ผู้สนับสนุนไม่ค่อยมี ตอนนี้เห็นโฆษณาเยอะมาก คนเริ่มมาศึกษามากขึ้น และคนเข้าใจมากขึ้น ที่ผ่านมาต้องใช้เวลาอธิบายเยอะเหมือนกันว่าการโฆษณากับกูเกิลเป็นอย่างไร 

ตอนนี้ลูกค้าที่มาลงโฆษณากับเรามีความหลากหลายมาก เช่น ร้านศิริชัยไก่ย่าง ผ้าม่าน บ้าน ร้านซักแห้ง กลุ่มร้านขนมก็เยอะ ที่ผ่านมากูเกิลได้ตั้ง บ.เรดดี้แพลนเน็ต เป็นตัวแทนจำหน่ายเป็นทางการ เพื่อให้บริการเอสเอ็มอี เพราะถ้าเป็นลูกค้าองค์กรใหญ่ กูเกิลจะมีเซลส์ที่ให้บริการผ่านมีเดียเอเยนซี่ 

@สถานการณ์ของกูเกิลในไทย
จากรายงานของทรู ฮิต ปัจจุบันกูเกิลมีส่วนแบ่งการตลาดเสิร์ช 98.11% ที่เหลือก็เป็นสนุก และบิง โดยเดือน พ.ย.ปี 2552 มีการเสิร์ชผ่านกูเกิล 347 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 16 ล้านคน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่กูเกิลให้ความสนใจและมีความสำคัญลำดับต้น ๆ เพราะมีความสำคัญทั้งจำนวนคอนซูเมอร์ จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ เป็นตลาดที่ยังมีโอกาสเติบโตสูงมาก จึงมีทีมดูแลลูกค้าในไทยเพิ่มขึ้นหลายสิบคน เพื่อดูแลและโฟกัสลูกค้าในไทย โดยทีมงานส่วนใหญ่จะประจำการอยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งทั่วโลกมีคนไทยทำงานอยู่กูเกิลกว่าร้อยคนแล้ว
ในแง่รายได้ของกูเกิล ทั่วโลก ณ ไตรมาส 3 อยู่ที่ 5.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นรายได้จาก adwords ประมาณ 67% และ adsense 35% หากรวมตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นไตรมาส กูเกิลมีรายได้ 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปี 2008 มีรายได้ทั้งปีประมาณ 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

@ทิศทางของกูเกิลในปีหน้า
กูเกิลแมป ยังเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ให้ความสำคัญในเมืองไทย เพราะการใช้แผนที่ในภาคธุรกิจ เรายังทำตลาดน้อย นอกจากนี้สิ่งที่จะผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อรองรับการใช้งานบน มือถือมากขึ้น ถือเป็นนโยบายบริษัทแม่ เพราะทิศทางตลาดทั่วโลกชัดเจนว่าผู้ใช้มือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์แน่นอน ฉะนั้นคนจะมีโอกาสเข้าถึงมากกว่า ดังนั้นสินค้าของกูเกิลจะพัฒนาอยู่บนมือถือมากขึ้น เช่น กูเกิลแมปบนมือถือ จีเมล์ รวมถึงการใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น