ป้ายกำกับ

Google (13) forum (12) webboard (12) กระดานสนทนา (12) ethic (10) มารยาท (10) politic (9) การเมือง (9) election (6) life (6) life style (6) local (6) การเลือกตั้ง (6) ชีวิต (6) ท้องถิ่น (6) cartoon (5) history (5) การ์ตูน (5) ประวัติศาสตร์ (5) แบบแผนชีวิต (5) family (4) freetalk (4) manga (4) strategy (4) war (4) ยุทธศาสตร์ (4) สงคราม (4) สนทนาทักทาย (4) data (3) download (3) sun tzu (3) ข้อมูล (3) ครอบครัว (3) ซุนวู (3) ระเบียบวิธี (3) Algorithm (2) administration (2) art (2) book (2) buddhist (2) business (2) chatroom (2) fiction (2) instruction (2) learning (2) management (2) methodology (2) monk (2) philosophy (2) search (2) society (2) technology (2) thai (2) website (2) การเรียนรู้ (2) ค้นหา (2) จัดการ (2) ธุรกิจ (2) นิยาย (2) บริหาร (2) ปรัชญา (2) พระสงฆ์ (2) พุทธศาสนา (2) ภาษาไทย (2) วิธีใช้ (2) สังคม (2) หนังสือ (2) ห้องสนทนา (2) เทคโนโลยี (2) E-mail (1) Facebook (1) Gmail (1) Thailand (1) Twitter (1) Youtube (1) ads (1) artbook (1) artist (1) birthplace (1) blog (1) city (1) communication (1) computer (1) concubine (1) discuss (1) eating (1) fallacy (1) father (1) focus (1) food (1) future (1) growth (1) height (1) homeland (1) ink (1) internet (1) introduce (1) language (1) lie (1) logic (1) marketing (1) morale (1) open (1) paper (1) parents (1) political party (1) printer (1) procedure (1) profile (1) reader (1) scan (1) service (1) spam (1) start (1) studybook (1) sufficient (1) system (1) thanks (1) thin (1) three kingdoms (1) topic (1) traveling (1) uthaithani (1) video (1) weblog (1) webmaster (1) weight (1) กระดาษ (1) กระทู้ (1) การกิน (1) การตลาด (1) การสื่อสาร (1) การเดินทาง (1) การเติบโต (1) ขยะข้อมูล (1) ขอบคุณ (1) ข้อปฏิบัติ (1) คติธรรม (1) ความสูง (1) คอมพิวเตอร์ (1) ตรรกะวิบัติ (1) ตรรกะศาสตร์ (1) ตระกูล (1) ตอแหล (1) นักอ่าน (1) น้ำหนัก (1) บรรพชน (1) บริการ (1) บ้านเกิด (1) บ้านเกิดเมืองนอน (1) ประเทศไทย (1) ผอม (1) พรรคการเมือง (1) พอเพียง (1) พ่อ (1) ภาษา (1) มุมมอง (1) ระบบ (1) วิจารณ์ (1) ศิลปิน (1) ศีลธรรม (1) สามก๊ก (1) หมึก (1) อนาคต (1) อาหาร (1) อุทัยธานี (1) เครื่องพิมพ์ (1) เมียน้อย (1) เมือง (1) แนะนำตัว (1) แบบเรียน (1) โฆษณา (1)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กาฬสินธุ์
นางชะม้อย วรามิตร
ฐานเสียงของตระกูลศรีธเรศและวรามิตร
ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ.กาฬสินธุ์ อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่านางชะม้อย วรามิตร อดีต ส.ว. ได้รับเลือกอย่างถล่มทลายด้วยคะแนน 172,010 คะแนน ทิ้งห่างคู่แข่งอันดับ 2 นายชัย คูสกุลรัตน์ ผู้สมัครหมายเลข 4 เกือบ 60,000 คะแนน โดยนายชัยมีคะแนน 119,714 คะแนน อันดับ 3 ได้แก่ ผู้สมัครหมายเลข 1 นายวิบูลย์ แช่มชื่น ได้ 38,698 คะแนน ซึ่งผลเลือกตั้งเป็นไปตามความคาดหมาย เนื่องจากนางชะม้อย เป็นตัวเต็งที่คาดหมายกันว่า จะได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างแน่นอน เนื่องจากมีฐานจากกลุ่มอำนาจเก่าและอดีต สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนใหญ่สนับสนุน
สำหรับนางชะม้อย วรามิตร อายุ 63 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี (บธ.บ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อาชีพ ค้าขาย คู่สมรส นายสมบัติ วรามิตร อดีต ส.ว. กาฬสินธุ์ มีบุตร 4 คน คือ นางปาริชาต กัลป์ยากฤต อดีตนายกเทศมนตรีตำบลกมลาไสย, นายชานุวัฒน์ วรามิตร ผู้จัดการโรงสีไฟกาฬสินธุ์รุ่งเรือง 3, นายขวัญชัย วรามิตร รองนายกเทศมนตรีตำบลกมลาไสย และนางสาวภัทรา วรามิตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 กาฬสินธุ์ เคยเป็นอดีตผู้พิพากษาสมทบ ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว, รองประธานสหพันธ์สมาคมนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูป ถัมภ์, นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-กาฬสินธุ์, อดีตประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดกาฬสินธุ์, ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอกมลาไสย และอดีตคณะกรรมการ กต.ตร. ตำรวจภูธร จังหวัดกาฬสินธุ์

ขอนแก่น
นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวนิชกพงษ์ 
ฐานเสียงของตระกูลอรรณนพพร ,พงษ์พานิช ,เพียงเกษ และเตาะเจริญสุข
ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ การันตีการทำงานด้วย อดีตนายก อบจ.ขอนแก่น 3 สมัย ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งมีผลงานโดดเด่นมากมาย เป็นที่รู้จักของประชาชนชาวขอนแก่นเป็นอย่างดี และมีฐานเสียงคะแนนแน่นปึ้ก ซึ่งถือว่าได้เปรียบผู้สมัครรายอื่น และถ้าเหตุการณ์ไม่พลิกผัน น่าจะมีโอกาสกลับมานั่งตำแหน่งเดิมได้ไม่ยาก
นางสรพิกา เตาะเจริญสุข ความมั่นใจเต็มร้อยที่จะคว้าชัยชนะแย่งชิงตำแหน่ง นายก อบจ.ขอนแก่นมาครอง ด้วยแรงหนุนของ นายนวัธ เตาะเจริญสุข ผู้เป็นสามีที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ขอนแก่น เขต 3 พรรคพลังประชาชน มาหมาดๆ ด้วยคะแนนท่วมท้น จนสามารถเอาชนะเบียด นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ตกเก้าอี้กลายเป็น ส.ส.สอบตกไปแล้ว ประกอบกับ นางสรพิกา เคยดำรงตำแหน่ง ส.อบจ.ขอนแก่น เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่มีฐานเสียงพอสมควร หญิงเหล็กอย่าง 'สรพิกา' จึงสู้ไม่ถอยและมั่นใจว่า ตำแหน่งนายก อบจ.ขอนแก่น สมัยต่อไปอยู่แค่เอื้อม
ผลการการเลือกตั้งนายกฯอย่างไม่เป็นทางการ ทั้ง 2,369 หน่วยในพื้นที่ 26 อำเภอของจังหวัดขอนแก่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ ลำดับที่1นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกอบจ.คนสนิทของสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ 346,225 คะแนน ลำดับที่ 2 นางสรพิกา เตาะเจริญสุข อายุ 36 ปี อดีต ส.อบจ.ขอนแก่น ภริยาของนายนวัธ เตาะเจริญสุข สส.ขอนแก่นพรรคเพื่อไทย หน้าใหม่ ที่ล้ม นายสุวิทย์ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน แบบไม่เหลือลาย ได้ 189,600 คะแนน อันดับที่ 3 นายพิเชฐ วัฒนสันติพงษ์ ได้ 9,545 คะแนน และลำดับที่ 4 นายกมล เปี่ยมไพศาล ได้ 7,958 คะแนน โดยจ.ขอนแก่นมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 45.47 จำนวนบัตรเสียร้อยละ 2.18 ไม่ประสงค์ลงคะแนนร้อยละ 2.65

ชัยภูมิ
นายสุริยน ภูมิรัตนประพิน
ฐานเสียงของตระกูลชัยวิรัตนะ,ชาลีเครือและสงวนวงษ์ชัย
ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ชัยภูมิ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 คือ นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 2 อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)จำนวน 193,155 คะแนน
ส่วนอันดับ 2 คือ นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 5 อดีตนายก อบจ.ชัยภูมิ ที่ชิงลาออกก่อนวาระ ได้จำนวน 159,933 คะแนน ห่างจากอันดับ 1 จำนวน 33,222 คะแนน
ทั้งนี้ การเลือกตั้ง นายก อบจ.ชัยภูมิ ครั้งนี้ มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 405,070 คน คิดเป็นร้อยละ 50.28 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 805,596 คน โดยแยกเป็นบัตรดี 389,824 ใบ คิดเป็นร้อยละ 96.24 บัตรเสีย 6,343 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.57 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 8,903 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.2
“กกต.อบจ.ชัยภูมิ จะได้นำผลคะแนนดังกล่าว ส่งให้ กกต.จังหวัดชัยภูมิ เพื่อส่ง กกต.กลางพิจารณารับรองผลการเลือกตั้ง ภายใน 30 วันต่อไป” นายวิรัช กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม หลังจากมีการประกาศคะแนนผลการเลือกตั้งนายกออบจ.แบบ เป็นทางการออกมาในวันนี้ (21 ม.ค.) สภากาแฟ และบรรดาคอการเมืองใน จ.ชัยภูมิ ต่างจับกลุ่มวิจารณ์ถึงการสอบตก ของ นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร อดีตนายก อบจ.ว่า ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากกระแสความไม่พอใจของประชาชน กับการชิงลาออกก่อนครบวาระของ นายอนันต์ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณภาษีท้องถิ่นโดยไม่จำเป็นกว่า 30 ล้านบาท และในเร็วๆ นี้ ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ซึ่งต้องเสียเวลา เสียค่าใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งกันอีก
กระแสดังกล่าวกลายเป็นเป้าโจมตีคะแนนนิยมของอดีตนายก อบจ.ของคู่แข่ง จนต้องสูญเสียตำแหน่งนายก อบจ.ชัยภูมิ ให้กับ นายสุริยน อดีต ส.ว.ชัยภูมิ ในที่สุด

นครพนม
นายสมชอบ นิติพจน์
ฐานเสียงของตระกูลศรีวรขาน
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกอบจ.นครพนม ปรากฏว่านายสมชอบ นิติพจน์ ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีตรองนายก อบจ. 3 สมัย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจาก ส.ส.พรรค พลังประชาชน เนื่องจากเป็นคนสนิทของนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.พลังประชาชน ได้ รับเลือกด้วยคะแนน 172,671 คะแนน ชนะนายวัชรินทร์ เจียวิริยะบุญญา อดีตผู้ สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มีนายทนง ศิริปรีชาพงศ์ หรือ ป.เป็ด อดีต ส. ส.หลายสมัยสนับสนุน ที่ได้ 76,306 คะแนน
ก่อนหน้าที่จะมีการนับคะแนนนายวัชรินทร์พร้อมด้วยทีมงานได้หอบหลัก ฐานวุฒิการศึกษาที่นายสมชอบแจ้งต่อ กกต.ขณะที่ลงสมัครว่า จบการศึกษาระดับ ปริญญาเอกจากประเทศอินเดีย แต่ไม่สามารถนำวุฒิบัตรมาแสดงได้ คงใช้แต่ใบ รับรองความเป็นนักศึกษาเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าได้สำเร็จการ ศึกษา ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมามอบให้ กกต. จังหวัดสืบสวนชี้ขาด เนื่องจากเข้าข่ายกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 57 (5) อีกทั้งยัง ฝ่าฝืนข้อห้ามในการหาเสียงของ กกต.ข้อ 6 (5) 

นครราชสีมา
นพ.สำเริง แหยงกระโทก
ฐานเสียงของตระกูลครุฑขุนทด,เชิดชัย,สุวรรณฉวี,อัตถาวงศ์และทายาทราชครู
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏดังนี้
ลำดับที่ 1 หมายเลข 1 นายสำเริง แหยงกระโทก อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มรักษ์โคราช โดยการสนับสนุนของแกนนำสส.พปช.ได้ 607,508 คะแนน
ลำดับที่ 2 หมายเลข 2 นายวิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ อดีตนายกอบจ. กลุ่มวังลำตะคอง ได้ 305,667 คะแนน
ลำดับที่ 3 หมายเลข 3 นายทองแดง ถาพิลา ได้ 8,545 คะแนน
มีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 965,532 คน คิดเป็นร้อยละ 52.34 (จากทั้งหมด 1,844,666 คน)
บัตรดี 944,831 บัตร คิดเป็นร้อยละ 97.86 บัตรเสีย 20,701 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.14 บัตรไม่ประสงค์จะลงคะแนน 23,111 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.39
ทั้งนี้ นพ.สำเริง แหยงกระโทก หรือ “หมอแหยง” เป็นชาวโคราชโดยกำเนิด เกิดที่ ต.แชะ อ.ครบุรี ปัจจุบันอายุ 55 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ จาก รามาธิบดี และระดับปริญญาโท คณะสาธารณสุขศาสตร์ จากประเทศเบลเยียม ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
ล่าสุด ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และรองคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก่อนลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.นครราชสีมา จนสามารถชนะแชมป์เก่า คือ นายวิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ ด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างถึง 301,841 คะแนน ซึ่งนายวิทูรนับเป็นนักการเมืองท้องถิ่นโคราชที่ผูกขาดยึดครองเก้าอี้นายก อบจ.มานาน โดยได้รับการสนับสนุนทางการเมือง จากกลุ่มของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรีมาโดยตลอด เช่นเดียวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ต้องมาพ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งอย่างขาดลอย

บุรีรัมย์
นางกรุณา ชิดชอบ
ฐานเสียงของตระกูลชิดชอบและทองศรี
จ.บุรีรัมย์ ที่ครั้งนี้ คนในตระกูล "ชิดชอบ" ต่างลงแข่งกันเอง ปรากฏว่า นางกรุณา ชิดชอบ อดีต ส.ส.ผู้สมัครหมายเลข 15 ภรรยาของนายเนวิน ชิดชอบ ได้ 270,388 คะแนน ชนะ นางอุษณีย์ ชิดชอบ อดีต ส.ว. ผู้สมัครหมายเลข 3 พี่สาวนายเนวิน ขาดลอย ที่ได้คะแนน 93,875 คะแนน ส่วนผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 42 เขต ทีมของนางกรุณา กวาดที่นั่งไป 35 ที่นั่ง ขณะที่ทีมของนางอุษณีย์ได้เพียง 7 ที่นั่ง คาดว่าสิ้นสุดการนับคะแนนนางกรุณา จะครองเก้าอี้นายก อบจ. แทน พ.ต.อ.ชวลิต ชิดชอบ สามีของนางอุษณีย์ ชิดชอบ ที่ได้หมดวาระลง เมื่อวันที่13 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา
การเลือกตั้งนายก และ ส.อบจ.บุรีรัมย์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเปิดศึกสายเลือดกันเองเป็นครั้งแรกของ ตระกูล “ชิดชอบ” ที่มีปัญหาความขัดแย้งในการบริหาร อบจ.บุรีรัมย์มานาน จึงกลายเป็นสนามเลือกตั้งที่ น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งและมีสีสันไม่แพ้การเลือกตั้ง ส.ส.
โดยปมของความขัดแย้งใน อบจ.บุรีรัมย์ นั้นเริ่มตั้งแต่ นายเนวิน ชิดชอบ ได้ชักนำ พ.ต.อ.ชวลิต ชิดชอบ พี่เขยลาออกจากการเป็นข้าราชการตำรวจมีตำแหน่งสูงถึงผู้กำกับ และ เปลี่ยนมาใช้นามสกุล “ชิดชอบ” ของภรรยา เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.บุรีรัมย์ สมัยที่ผ่านมา แต่ หลังจากชนะเลือกตั้งก็เกิดความขัดแย้งขึ้น เมื่อ พ.ต.อ.ชวลิต และนางอุษณีย์ ชิดชอบ พี่สาว ไม่พอใจที่นายเนวิน ไม่ให้อำนาจเต็มในการบริหารจัดการใน อบจ. เป็นเพียงนายกตรายาง พ.ต.อ.ชวลิต จึงสั่งปลดรองนายก อบจ. คนสนิทของนายเนวิน ทั้ง 3 คน ที่นายเนวิน ให้เข้ามาดูแลบริหารจัดการร่วมใน อบจ. ด้วย และจากนั้นมีการเปิดศึกตอบโต้กันระหว่าง 2 ฝ่ายมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายรอยร้าวลึกในตระกูล จนไม่สามารถประสานได้อีก
กระทั่งการเลือกตั้ง อบจ.บุรีรัมย์ในครั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่นายเนวิน ต้องส่งภรรยา ลงแข่งกับพี่สาวตนเอง เพื่อเข้าไปดูแลกลุ่ม ส.อบจ. ทั้ง 42 เขต ที่เป็นขุมคะแนนใหญ่ ที่มีผลถึงการเลือกตั้งทุกระดับ สามารถให้คุณให้โทษเส้นทางการเมืองกับ “นายเนวิน” และตระกูลชิดชอบได้ ทั้งเป็นการสะท้อนฐานคะแนนในการเลือกตั้ง สว.ที่ใกล้จะมาถึงอีกด้วย

มหาสารคาม
นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์
ฐานเสียงของตระกูลเจริญศิริและอุดรพิมพ์
ด้านประวัติและฐานคะแนนสียงของผู้สมัครนั้น เริ่มด้วยนางรังสิมา เจริญศิริ อดีต เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นภรรยานายศรีเมือง เจริญศิริ อดีต ส.ว.มหาสารคาม ซึ่งนายศรีเมือง เจริญศิริ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ล่าสุด นาย ศรีเมือง ยังได้รับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 3 สังกัดพรรคพลังประชาชนด้วย โดยประสบการณ์ทางการเมืองของนางรังสิมา เคยลงสมัคร ส.ว. ในสมัยที่ผ่านมาแต่ยังไม่ทันได้ทำงานก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเสียก่อน เมื่อไม่ได้ทำงานในวุฒิสภาก็เลย เปลี่ยนเส้นทางทางการเมืองหันมาลงเล่นการ เมืองในสนามท้องถิ่น 
สำหรับฐานคะแนนเสียงของนางรังสิมาคงใช้ฐานคะแนนจากสามี ที่คุมบังเหียนให้พรรคพลังประชาชน กลุ่มที่ 3 อีกทั้งยังมี ทีมงาน สส. อีก 6 คน ที่ชนะการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ก็ยังมีกลุ่มผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)บางส่วน ซึ่งนับว่าฐานคะแนนแน่นพอสมควร และที่สำคัญ กระเป๋าหนักอีกด้วย 
ส่วนประวัติทางการเมืองของนาย ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ นั้น เคยเป็นนายก อบจ.มหาสารคาม มาหลายสมัย คร่ำหวอดกับการบริหารงานใน อบจ.มหาสารคามมานาน เรียก ว่ามี อบจ.เป็นบ้านหลังที่ 2 ก็ว่าได้ มีภรรยาชื่อนางคมคาย อุดรพิมพ์ เคยสมัคร ส.ว.ในปี 2548 ได้คะแนนอันดับที่ 2 และในการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ทานกระแสพรรคพลังประชาชนไม่ไหว จึงเข้าที่ 4 สำหรับการต่อสู้เพื่อยึดเก้าอี้นายก อบจ.มหาสารคาม อีกครั้งของคงต้องอาศัยฐานเสียงเดิมจากภรรยา ที่เคยสมัคร ส.ว.และ ส.ส. นอกจากนี้นายยิ่งยศยังมีขุมกำลังที่เป็นส.อบจ. และอบต. บางแห่งที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา
สำหรับ ผู้สมัครเบอร์ 3 คือ นายสุรชัย เจริญศิริ ซึ่งถ้าสอบถามผู้คนแล้วไม่มีวี่แววว่าจะลงสมัครในสนามนี้ จู่ๆ ก็มาสมัคร จึงมีผู้ตั้งคำถามกันเองว่านี่ กำลังเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้นายสุรชัย เจริญศิริ มีนามสกุลเดียวกันกับ นางรังสิมา เจริญศิริ ซึ่งถ้านับญาติกันแล้วก็มีศักดิ์เป็นหลานนายศรีเมือง เจริญศิริ นั่นเอง จากการตรวจสอบจึงทราบว่า นายสุรชัย เจริญศิริ ทำงานในค่ายของทองหล่อ พลโคตร อดีต ส.ส. ซึ่งนับว่าเป็นญาติกัน แต่คอการเมืองกล่าวว่าระยะหลัง นายศรีเมือง เจริญศิริ กับ นายทองหล่อ พลโคตร กินเกาเหลากัน จึงต้องส่งตัวแทนลงสู้ศึกในครั้งนี้ ส่วนฐานคะแนนเสียงก็คงเป็นฐานคะแนนในเขต อ.เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นฐานเดิมของ นายทองหล่อ พลโคตร
ขณะที่ เบอร์ 4 นายกำธร เหล่าสะพาน อาชีพทนายความ อดีตเคยลงสมัคร ส.ส.มาแล้ว แต่ระยะหลังเหินห่างเวทีการเมืองไปนาน พอระฆังสนามเลือกตั้งนายก อบจ.ดังขึ้น ก็คงนอนคิดหลายตลบ เลยตัดสินใจโดดลงสู้ชนิดไม่เกรงกลัวใครทั้งสิ้น สำหรับฐานคะแนนก็เห็นจะเป็นถิ่นบ้านเกิด อ.กันทรวิชัย นั่นเอง
นาย ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกอบจ.มหาสารคาม ผู้สมัครหมายเลข 2 ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 205,507 คะแนน ทิ้งห่างอันดับ 2 กว่า 1 แสนคะแนน ชนะรังสิมา เจริญศิริ อดีต ส.ว. มหาสารคาม แบบท่วมท้น ทั้งๆ ที่ อดีต ส.ว.น่าจะชนะแบบถล่มทลาย

มุกดาหาร
นายวิริยะ ทองผา
เก้าอี้นายก อบจ.มุกดาหาร เป็นการขับเคี่ยวของสองผู้สมัครที่ชาวมุกดาหารรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ "อดีตนายก" นายอดุลย์ ไชยสุนันท์ และ "อดีต ส.ว." นายวิริยะ ทองผา ผู้ซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้ง ส.ว. มากที่สุดของ จ.มุกดาหาร
หากเทียบจุดแข็งจุดด้อยของทั้งสองคน นายอดุลย์ ผู้สมัครหมายเลข 1 มีดีกรีอดีตนายก อบจ.มุกดาหาร 1 สมัย และอดีตหัวคะแนนนักการเมืองหลายคนหลายสมัย อดีต จนท.สาธารณสุข จ.มุกดาหาร เป็นหลักประกัน เสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จะมาจากและกลุ่มข้าราชสาธารณสุข และ อสม. และที่สำคัญยังได้กลุ่มผู้สนับสนุนนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมือง มุกดาหาร
โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดมุกดาหารเข้ามาทำคะแนน เสริม ทำให้นายอดุลย์ ไชยสุนันท์ ถูกยกให้เป็นตัวเอกที่โดดเด่นมีโอกาสมาก ที่จะเข้าไปสู่เส้นชัยในการเลือกตั้งนายก อบจ.มุกดาหาร ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานด้านการเมืองมาอย่างต่อเนื่องที่ดึงทั้งอดีตนายก อบจ.คู่แข่ง 2 - 3 คน ลงมาร่วมทำงานในทีมบริหาร อบจ.ที่ผ่านมา ทำให้ทั้งภาพและคะแนนถูกดึงตามขึ้นไปด้วย
นับเป็นความชาญฉลาดของผู้บริหารยุคใหม่ที่ร่วมทำงานกันได้อย่างลงตัว จากนโยบายเสร็จศึกนับศพนักรบกันแล้วก็ขอให้จับมือกันเพื่อช่วยทำงานให้บ้าน เมืองต่อไป จึงทำให้คะแนนความนิยมในจุดนี้ต่างถั่งโถมเข้ามาไม่น้อย
นายวิริยะ ผู้สมัครหมายเลข 2 พกดีกรีอดีต ส.อบจ.มุกดาหาร เขต อ.หว้านใหญ่ 3 สมัย อดีตรองนายก อบจ.มุกดาหาร มาเป็นบารมี ฐานเสียงที่สำคัญคือมีนักการเมืองระดับชาติให้การช่วยสนับสนุน และกลุ่ม ส.อบจ. บางกลุ่มยังร่วมเป็นแรงสนับสนุนทั้งจากความความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ยังคงแน่น เหนียว โดยมีกลุ่มเครือญาติที่รับราชการครูร่วมหนุนอีกแรงหนึ่ง และชัวร์ๆไม่ต้องออกแรงให้มากนัก คะแนนเสียงใน อ.หว้านใหญ่ ร้อยทั้งร้อยได้แน่ 
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ปรากฏว่า หมายเลข 1 นายอดุลย์ ไชยสุนันท์ อดีตนายกอบจ.ได้ 42,720 คะแนน หมายเลข 2 นายวิริยะ ทองผา อดีต ส.อบจ.หลายสมัย ได้ 86,869 คะแนน ภาพรวมทั้ง 7 อำเภอมีประชาชนมาใช้สิทธิ์เกินกว่าร้อยละ 50 โดยที่อำเภอดงหลวงมีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุดร้อยละ 64 น้อยที่สุด อำเภอคำชะอี ร้อยละ 55 ทั้งจังหวัดมีผู้มาใช้สิทธิ์ ร้อยละ 59.12 เป็นบัตรเสีย ร้อยละ 3.69 และบัตรผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ร้อยละ 3.82 

ยโสธร
นายสฤษดิ์ ประดับศรี
ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ.ยโสธร อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2551 มีผู้สมัครเป็นนายก อบจ.4 คน ผลการลงคะแนนดังนี้ผลการลงคะแนนเลือกตั้ง นายก อบจ.เรียงตามคะแนนดังนี้ อันดับที่ 1 นายสฤษดิ์ ประดับศรี อดีตผู้สมัครสส.จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 106,040 คะแนน อันดับที่ 2 นายสถิรพร นาคสุข อดีตนายกอบจ.ได้ 74,303 คะแนน อันดับที่ 3 นายสมบูรณ์ ทองบุราณ สาวกพธม. ได้ 23,874 คะแนน อันดับที่ 4 นายธนกร ไชยกุล ได้7,575 คะแนน 

ร้อยเอ็ด
นายมังกร ยนต์ตระกูล
ฐานเสียงของตระกูลจุรีมาศ ,พลซื่อ ,ไวนิยมพงศ์ ,คงเพชร และพรรคเพื่อไทย
สำหรับ อดีตนายก อบจ.ร้อยเอ็ด ที่ชื่อมังกร นั้น เป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจด้านรถยนต์อย่างสูง เป็นเคยเป็นนายก อบจ.คนแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด 1 สมัย ลง สนามครั้งนี้ด้วยกำลังใจอย่างเต็มเปี่ยม และพร้อมด้วยสรรพปัจจัย ทั้งด้านกำลังคน กำลังเงิน อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนเรื่องฐานเสียง ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวน 7 คน (ร้อยเอ็ดมี ส.ส.รวม 8 คน) อีกทั้งติดแบรนด์เนมด้วยการใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มพลังประชาชน101”
เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่มของนายมังกรยังสามารถเจรจากับกลุ่มของนายทินกร จุรีมาศ หรือ ไก่ อดีตนายก อบจ.ร้อยเอ็ด สมัยก่อนนางรัชนี และการเลือกตั้งนายก อบจ.ร้อยเอ็ด สมัยที่ผ่านมา มีคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากนายมังกร และนางรัชนี ที่สำคัญเป็นพี่ชายของอนุรักษ์ จุรีมาศ หรือแกละ รมช.คมนาคม ในปัจจุบัน ให้เข้าร่วมทีมด้วย โดยหากนายมังกร ชนะการเลือกตั้ง ก็จะปูนบำเหน็จรางวัลให้กับนายทินกร ด้วยเก้าอี้ผู้บริหารใน อบจ.ร้อยเอ็ด อันเป็นการวินๆ ของทั้งสองฝ่าย
ทางด้านนางรัชนี พลซื่อ อดีตนายก อบจ.ร้อยเอ็ด คนล่าสุด ลงกรำศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ด้วยกระแสการเมืองที่ทำให้เธอต้องป้องกันตำแหน่งให้ได้ แม้ว่าสถานการณ์การหาเสียงในหลายๆ ด้าน ดูจะทำให้ไม่เอื้อประโยชน์ให้เธอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตำราเรียนที่กำลังเป็นข่าวหน้าหนึ่ง หรือ ปมขัดแย้งกับ กลุ่ม ส.อบจ.ร้อยเอ็ด ฝ่ายค้าน จนถูกป่วนในสภาด้วยการคว่ำข้อบัญญัติงบประมาณปี 51 ซี่งกว่าร่างข้อบัญญัติจะผ่านได้ ก็หืดจับ ประกอบกับกระแสความเบื่อของชาว บ้านบางกลุ่มที่รู้สึกว่า เธอไม่ได้เป็นนายก อบจ.ตัวจริง แต่เป็นนอมินีของอดีต ส.ส.เอกภาพ พลซื่อ ผู้เป็นสามีมากกว่า ที่ปัจจุบันติดอยู่ที่บ้านเลขที่ 111
(21 เม.ย. 51)หลังปิดหีบบัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 20 เมษายน 2551 กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเริ่มขนส่งหีบบัตรเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ.ไปยังสถานที่นับคะแนนกลาง ส่วนใหญ่ใช่สถานที่หอประชุมอำเภอ หรือสถานที่ราชการ มีการตรวจบัตรเลือกตั้ง เอกสารทำให้บางจุดเริ่มนับคะแนนได้ 20.30 น.ผลคะแนนนายก อบจ.ร้อยเอ็ดมีผู้สมัคร 5 คน แต่คะแนนขึ้นมาเพียง 2 คน คือนายมังกร ยนต์ตระกูล เบอร์ 1 และนางรัชนี พลซื่อ เบอร์ 2 จาก 20 อำเภอ ผลคะแนนปรากฏว่านายมังกร ยนต์ตระกูล ได้ 258,423 คะแนน นางรัชนี พลซื่อ ได้ 202,110 คะแนน ผลต่างอยู่ที่ 51,313 คะแนน ข้อสังเกตฐานคะแนนนางรัชนี พลซื่อ จะอยู่ที่เขตเลือกตั้งที่ 3 คืออำเภอโพนทอง หนองพอก เมยวดี เสลภูมิ โพธิ์ชัย แต่ชนะไม่ขาด ส่วนนายมังกร ยนต์ตระกูล ซึ่งขึ้นชื่อคู่กับ ส.อบจ.กลุ่มพลังประชาชน101 ใน 20 อำเภอ คะแนนชนะขาด ตั้งแต่อำเภอเชียงขวัญ ธวัช บุรี จังหาร ทุ่งเขาหลวง เมืองร้อยเอ็ด ศรีสมเด็จ เมืองสรวง จตุรพักตรพิมาน อาจสามารถ ปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ พนมไพร หนองฮี โพนทราย ล้วนชนะขาด พร้อม ส.อบจ.

ส่วนผลคะแนน ส.อบจ.จาก 20 อำเภอ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังประชาชน 80% อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 4 คน นายณัฎฐ์วัฒน์ จีนภักดี น.ส.จุฑาพร เกษมทรัพย์ น.ส.จุรีภรณ์ เอื้อไพจิตร นายพรชัย จิตตชินะกุล อำเภอเกษตวิสัย อำเภอเกษตรวสัย นายนิรันดร์ คงเพชร นางจิตรา คงเพชร นายบุญเลิศ อุดหนุน สุวรรณภูมิ นายวิชิต ประราศรี นายวสันต์ อึ้งเจริญธนกิจ นายประจักร มูลรัตน์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน นายเอกกมล กุลเวชกิจ นายอนิวัตร วรเชษฐ์ อำเภอธวัชบุรี นายพิสิษฐ์ศักดิ์ ไวนิยมพงศ์ นายจักรกริช ไวนิยมพงศ์ อำเภอพนมไพร นายธนพล โอฆพนม นายประเสริฐ วรกาญจนบุญ อำเภออาจสามารถ นายถาวร ตรีบุญเมือง นายมาวิน ศิลปักษา อำเภอจังหาร นายอาคม เฉลิมแสน อำเภอปทุมรัตต์ นางนวรัตน์ พาโคกทม ออำเภอโพธิ์ชัย นายวีระวัฒน์ โพธิ์เปี้ยศรี อำเภอโพนทราย นายประไพ ศรี สัจจา อำเภอเมยวดี นายสมยศ ถนัดค้า อำเภอเมืองสรวง นายทรรศยุ ไชยรัตน์ อำเภอศรีสมเด็จ นางเกิ้อจิตร จุรีมาศ อำเภอเชียงขวัญ นายประพงษ์ อัศวแสงพิทักษ์ อำเภอทุ่งเขาหลวง นายอนุชิต ภาระเวช อำเภอหนองฮี นายเฉลิมศักดิ์ แสนปรางค์
อำเภอโพนทอง นายกิตติศักดิ์ เลิศศิริรังสรรค์ นายวุฒิพงศ์ สิริปัญจโชติ นายสุราช แวงอุ้ย อำเภอเสลภูมิ น.ส.ตวงรัตน์ วงศ์เวไนย นายขวัญชัย เนียมรัตน์ นางศศิธร พรหมชัยนันท์ อำเภอหนองพอก นางดาราวดี ศรีดารา นายเอกชัย พลซื่อ รวม 36 คน รอ ฟ้าหลังฝนการร้องเรียนจะเกิดขึ้นหรือไม่ กฎกติกาคือสิ่งสำคัญหรือต่างคนแอบซื้อเสียงต้องปล่อยให้เป็นเกมส์การเมืองดี กว่า คนร้อยเอ็ดรู้ดีว่าใครซื้อเสียงหรือไม่

เลย
นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ
ฐานเสียงของตระกูลทิมสุวรรณ ,เร่งสมบูรณ์สุข กับสังคทรัพย์
ผลปรากฏว่านายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ ได้รับเลือกให้เป็นนายกอบจ. เลย ด้วยคะแนน 148,662 คะแนน ส่วนนางณัฎฐ์ชุดา มีแพง ได้ 58,952 คะแนน โดยมีผู้มาลงใช้สิทธิ์ 229,130 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 442,149 คน คิดเป็นร้อยละ 51.82 มีบัตรเสีย 7,902 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.45 และจำนวนบัตรผู้ประสงค์ไม่ลงคะแนน 13,614 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.94 

ศรีสะเกษ
นายวิชิต ไตรสรณกุล
ฐานเสียงของตระกูลไตรสรณกุล,เครือรัตน์,อินฉัตร,อังคกุลเกียรติ,วิริยะโรจน์และแซ่จึง
มีอยู่ 2 ค่ายใหญ่คือ “กลุ่มคนท้องถิ่น” นำโดยแชมป์เก่าอย่างนายวิชิต ไตรสรณกุล เบอร์ 8 ส่วนผู้ท้าชิงคือ “กลุ่มรักศรีสะเกษ ”โดยมีนางสุนีย์ อินฉัตร เบอร์ 4 ที่มีดีกรีเป็นถึงอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ
นายวิชิต ไตรสรณกูล วัย 49 ปี เป็นคนศรีสะเกษโดยกำเนิด จบ ป.ตรี บริหารธุรกิจ วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย่างเข้าสู่ถนนการเมืองท้องถิ่นครั้งแรกด้วยตำแหน่ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2 สมัยซ้อนคือ ปี 2533 – 38 และสมัยที่ 2ปี 2538 – 42 ต่อมาได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.เมื่อปี 2543 -47 และได้ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การลงชิงชัยครั้งนี้ได้ชูประเด็นความเป็นท้องถิ่นนิยมภายใต้ชื่อ”กลุ่มคนท้องถิ่น”โดยได้วางทีมบริหารชุดเดิมเมื่อสมัยที่แล้วไว้ทั้งหมดประกอบนายมานะพันธ์ อังคสกุลเกียรติ น้องชายนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรตินายกเล็กเมืองศรีสะเกษพ่อของนายสิริพงษ์ อังคกุลเกียรติ สส.เขต 1 พรรค พปช. คนที่ 2 คือวิเชียร ถิระเลิศพานิชย์ และนายอภิศักดิ์ แซ่จึง หลานนายปวีณ แซ่จึง สส.เขต 1 พรรค พปช. จึงถือว่าเป็นการรวบรวมฐานคะแนนเดิมที่เคยดำรงตำแหน่งนายก อบจ.มาอย่างยาวนานและต่อเนื่องบวกกับฐานคะแนน ส.ส.ที่สอบผ่านเมื่อสมัยที่ผ่านมา
การเลือกตั้งนายก อบจ.ครั้งนี้ทีมคนท้องถิ่นได้เน้นการหาเสียงภายใต้สโลแกน “คนท้องถิ่นโดยกำเนิด รักบ้านเกิดด้วยความจริงใจ” และ “ศรีสะเกษจะก้าวหน้า ชาวประชาจะก้าวไกล เราควรภาคภูมิใจที่เลือกใช้คนท้องถิ่น” จึงถือว่าเป็นการหาเสียงที่เน้นการชูประเด็นท้องถิ่นนิยมแข่งกับคู่ชิงที่มาจากต่างถิ่นอย่างชัดเจน
ส่วนตัวเต่งอีกฝ่ายคือนางสุนีย์ อินฉัตร วัย 66 ปี อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษจบ ป.ตรีศิลปศาสตรบัณฑิต(รัฐศาสตร์) ม.รามคำแหง พื้นเพเป็นคนจังหวัดนครสวรรค์จากนั้นได้แต่งงานและย้ายถิ่นฐานไปประกอบ ธุรกิจส่วนตัวที่จังหวัดชลบุรีและประสบผลสำเร็จบนเส้นทางสายธุรกิจจึงได้ เดินสายทำบุญตามวัดต่าง ๆทั่วประเทศ กระทั่งปี 2533 ได้เดินทางมาทำบุญที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษเกิดหลงเสน่ห์แดนลำดวน เข้าจึงได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อ.ปรางค์กู่ เมื่อปี 2537 และได้ตั้งมูลนิธิสุนีย์ อินฉัตร ช่วยเหลือเด็กยากจนและได้ก่อตั้งกลุ่มสตรี ส่งเสริมอาชีพต่าง ๆให้กับกลุ่มแม่บ้าน และเมื่อปี 2538 ได้ให้การสนับสนุนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ลงสมัคร ส.ส.และได้รับเลือกเป็น ส.ส.พรรคชาติพัฒนา จากนั้นเดินสายทำบุญตามวัดและงนการกุศลต่างๆจนเป็นที่รู้จักทั่วไปของคนศรีสะเกษภายในเวลาไม่นาน
การลงชิงชัยครั้งนี้ได้ชูสโลแกน “ ศรีสะเกษจะรุ่งเรือง ถ้าคนทั้งเมืองกล้าเปลี่ยนแปลง ” โดยได้ระดมทีมงานซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นอดีตส.ส.จังหวัดศรีสะเกษเช่น นายสวัสดิ์ สืบสายพรหม อดีต ส.ส.พรรคความหวังใหม่และอดีต รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ , นายอมรเทพ สมหมาย , นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ , นายพิทยา บุญเฉลียว , นายวีระศักดิ์ ตั้งกูลผลผลิต ซึ่ง ล้วนแต่เป็นอดีต ส.ส.ที่ต่างมีฐานคะแนนอยู่ในมือคนละไม่น้อยจึงคิดว่าจะเป็นไม้ตายที่จะสร้าง ความหนักใจให้คู่ต่อสู้แชมป์เก่าได้ไม่น้อยทีเดียว.
ผลคะแนนเลือกตั้งสมาชิก อบจ. นับคะแนนเสร็จสิ้นแล้วทุกอำเภอ โดยทีมคนท้องถิ่นของนายวิชิต ไตรสรณกุล สามารถเข้ามาได้ 31 เขต จาก 36 เขตเลือกตั้ง ส่วนคะแนน เลือกตั้งนายก อบจ.ศรีสะเกษ อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งนับไปแล้ว 21อำเภอ ปรากฏว่านายวิชิต ได้ 228,691 คะแนน ตามมาด้วยนางสุนีย์ อินฉัตร 186,758 คะแนน แต่ต้องรอผลคะแนนของ อ.กันทรลักษ์ อีก 291 หน่วย ที่มีผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 140,621 คน

สกลนคร
นายชัยมงคล ไชยรบ
ฐานเสียงของตระกูลไชยรบและพรหมภักดี
นับเป็นการลงชิงชัยของ 3 กลุ่มการเมืองใหญ่ใน จ.สกลนคร ซึ่งล้วนแต่มีฐานเสียงทางการเมืองระดับชาติสนับสนุนอย่างแน่นหนาด้วยกันทั้ง สิ้น
เริ่มจาก ชัยมงคล ไชยรบ อดีตนายก อบจ. 1 สมัยเมื่อปี 2547 และอดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน หวนคืนสนามเดิมอีกครั้ง ในนาม "กลุ่มก้าวใหม่ ไทสกล" โดยชูนโยบาย "นำในสิ่งที่ดีกว่า...กล้าเปลี่ยนให้ดีขึ้น" 
ชัยมงคล มีขุมกำลังสนับสนุนเป็น ส.ส.จากพรรคพลังประชาชนหลายคน เช่น พงษ์ศักดิ์ บุญศล หรือ เกษม อุประ ทั้งยังมีสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ของอดีตพรรคไทยรักไทย อย่าง เอกพร รักความสุข คอยผลักดันอีกทางหนึ่ง
ส่วนฐานการเมืองท้องถิ่นก็แน่นปึ้กไม่เบา เพราะได้แรงเชียร์จาก โกมุท ฑีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร และยังได้กลุ่ม ส.อบจ.สกลนคร ชุดปัจจุบันอีก 10 คน ร่วมผนึกกำลังด้วย
ขณะที่ทีมผู้บริหารก็ล้วน แต่ชื่อชั้นเก๋าเกมทั้งสิ้น ไล่มาตั้งแต่ อภิชาต ตีรสวัสดิชัย อดีต ส.ส. 5 สมัย เป็นที่ปรึกษา ดำเกิง วงศ์กาฬสินธุ์ อดีต ส.ว.ที่ถูกปฏิวัติ เป็นรองนายก สิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์ อดีต ส.ส. เป็นรองนายก เป็นต้น
ด้านเฉลิมชัย อุฬารกุล อดีต ส.ส. 4 สมัย ซึ่งสวมเสื้อพรรคเพื่อแผ่นดินลงสมัครครั้งล่าสุด แต่ก็ต้องอกหัก เพราะกระแสพลังประชาชน จึงเบนเข็มสู่เวทีการเมืองสนามเล็กแทน โดยชูสโลแกน “สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้”
เฉลิมชัย มี วิญญู อุฬารกุล อดีต ส.ว. 1 สมัย น้องชายแท้ๆ คอยผลักดันร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่น และกลุ่ม ส.อบจ.อีก 9 คน ที่ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงอย่างแข็งขัน
ด้วยชื่อชั้นที่ผ่านการเป็น ส.ส.มาถึง 4 สมัย ชื่อจึงคุ้นหูคุ้นตาชาวบ้านเป็นอย่างดี แม้กำลังภายในจะด้อยกว่ารายแรกอยู่บ้าง แต่ก็ประมาทไม่ได้เช่นกัน
ปิดท้ายที่ วีระศักดิ์ พรหมภักดี อดีตนายก อบจ.คนล่าสุด ซึ่งตั้งเป้าจะขอกลับเข้าไปสานงานต่ออีก 1 สมัย โดยมีแรงสนับสนุนจาก สาคร พรหมภักดี พี่ชายที่เป็นหนึ่งในสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ของอดีตพรรคไทยรักไทย
นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากกลุ่ม ส.อบจ.ชุดปัจจุบันอีก 16 คน ซึ่งนับว่าเป็นฐานเสียง และมือไม้ที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงต้องจับตาดูว่า เจ้าของสโลแกน “พูดนิ่ม ยิ้มหวาน บริการดี มีผลงาน” จะชนะใจชาวสกลนครเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันหรือไม่
เมื่อพิจารณาจาก ชื่อชั้นของแต่ละคน ประกอบกับกำลังภายนอกภายในที่หนุนหลังอยู่ จึงเชื่อได้ว่า ศึกชิงเก้าอี้นายก อบจ.สกลนครครั้งนี้จะดุเดือดเลือดพล่าน สาดใส่กันทั้งกระแส และกระสุนอย่างหนักหน่วงแน่นอน
แว่วว่า แค่ปี่กลองเริ่มประโคม...กระสุนก็สะพัดทั่วเมืองสกลนครเป็นหลักร้อยล้านแล้ว !!
เซียนประจำสภากาแฟเมืองสกลมองว่า วีระศักดิ์ ยังมีภาษีดีที่สุด ตามติดมาด้วย ชัยมงคล และพ่วงท้ายด้วย เฉลิมชัย
ผลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา โดยผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า ผู้สมัครหมายเลข 1 นายชัยมงคล ไชยรบ ได้ 170,778 คะแนน ขณะที่ผู้สมัครหมายเลข 2 นายเฉลิมชัย อุฬารกุล ได้ 13,477 คะแนน และผู้สมัครหมายเลข 3 นายวีระศักดิ์ พรหมภักดี ซึ่งเป็นอดีตนายก อบจ.สกลนคร ได้เพียง 162,982 คะแนน ดังนั้น นายชัยมงคล ซึ่งมีคะแนนเป็นอันดับ 1 จึงเป็นว่าที่ นายก อบจ.สกลนคร คนใหม่ โดยมียอดผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่ง คือ ร้อยละ 48.22 เท่านั้น

สุรินทร์
นายธงชัย มุ่งเจริญพร
ฐานเสียงของตระกูลมุ่งเจริญพร
ผลการเลือกตั้ง นายก อบจ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2551 (ไม่เป็นทางการ)
เบอร์ 1 นายธงชัย มุ่งเจริญพร 238,639 คะแนน
เบอร์ 2 นายศุภรักษ์ ควรหา 158,646 คะแนน
เบอร์ 3 นายบุญติด สุรประพจน์ 23,338 คะแนน

ผลการเลือกตั้ง ส.อบจ.สุรินทร์(ไม่เป็นทางการ)เฉพาะผู้ได้คะแนนสูงสุด
อ.เมืองสุรินทร์
เขต 1 นายพิชิต สายแสงจันทร์ 4,464 คะแนน
เขต 2 นายชิตพงศ์ บุญประถัมภ์ 5,960 คะแนน
เขต 3 นายทวีสุข เหลืองสกุลไทย 7,577 คะแนน
เขต 4 นางมยุรา เขียวหวาน 6,768 คะแนน
เขต 5 นายประยุทธ เขียวหวาน 5,665 คะแนน
เขต 6 นางธัญพร มุ่งเจริญพร 9,475 คะแนน
เขต 7 นางสาวพัทธนันท์ อมรกาญจนวัฒน์ 7,625 คะแนน
อ.ปราสาท
เขต 1 นายพิเชษฐ์ สุทธิศิริวัฒนะ 8,193 คะแนน
เขต 2 นายเรืองศักดิ์ กมลเดช 6,000 คะแนน
เขต 3 นายวีรวัฒน์ ศรีศรยุทธ 5,976 คะแนน
เขต 4 น.ส.พรนภา ธีระวงศ์ไพศาล 4,739 คะแนน
อ.ศีขรภูมิ
เขต 1 นายอาดัม ประธาน 7,553 คะแนน
เขต 2 นายภุชงค์ สุภัควรางกูร 7,153 คะแนน
เขต 3 น.ส.ฟารียา ประธาน 7,808 คะแนน
เขต 4 น.ส.ชไมพร ประธาน 7,560 คะแนน
อ.สังขะ
เขต 1 น.ส.วราลักษณ์ แซ่ตัง 7,297 คะแนน
เขต 2 นางศรินรัตน์ เตียวเจริญโสภา 6,300 คะแนน
เขต 3 นายณรงค์ ซ่อนกลิ่น 8,877 คะแนน
อ.ท่าตูม
เขต 1 นางสุรีย์ ธัมมาตร 8,794 คะแนน
เขต 2 นายศริศักดิ์ ร่วมพัฒนา 10,761 คะแนน
อ.กาบเชิง
เขต 1 นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ 4,717 คะแนน
เขต 2 นายโรจนชัย มหรรทัศนพงฐ์ 4,562 คะแนน
อ.ชุมพลบุรี
เขต 1 น.ส.มนัสนันท์ ชัยกิจยิ่งเจริญ 8,915 คะแนน
เขต 2 นายสุขี ลุนนู 8,874 คะแนน
อ.รัตนบุรี
เขต 1 นายสุระเด่น กำลังหาญ 9,022 คะแนน
เขต 2 นายพิทยะ สังข์โสม 7,728 คะแนน
อ.จอมพระ
เขต 1 นายสุรชัย เตียวเจริญโสภา 4,061 คะแนน
เขต 2 นายทัน จินดาศรี 5,784 คะแนน
อ.บัวเชด นายคมศักดิ์ แซ่เตียว 7,400 คะแนน
อ.ลำดวน นายสุชาโต ประดับสุข 6,601 คะแนน
อ.โนนนารายณ์ นายทองเจริญ ตุ่นทอง 3,747 คะแนน
อ.ศรีณรงค์ น.ส.ธนิสร มหรรทัศนพงศ์ 9,486 คะแนน
อ.สนม นายนิรันดร์ เจริญพันธ์ 7,766 คะแนน
อ.สำโรงทาบ นายฤทธิชัย สุรพงษ์พิวัฒนะ 9,414 คะแนน
อ.เขวาสินรินทร์ ดาบตำรวจ รังสี คงดี 6,768 คะแนน
อ.พนมดงรัก นายตั้งจดิษฐ์ สภารัตน์ 6,244 คะแนน 

หนองคาย
นายยุทธนา ศรีตะบุตร
ฐานเสียงของตระกูลศรีตะบุตร ,สุนทรชัย ,นิกรเทศ ,จันทาทองและอินทร์รอด
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า นายยุทธนา ศรีตะบุตร อดีต นายก อบจ.หนองคาย สมัยที่แล้ว ลูกชาย นายพิทักษ์ อดีต ส.ส.หนองคาย 5 สมัย เป็นอดีต ส.ว. 1 สมัย ผู้สมัครหมายเลข 2 หัวหน้ากลุ่มรักหนองคาย ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 184,918 คะแนน ได้เป็นนายก อบจ.หนองคายต่ออีก 1 สมัย ทิ้งห่างคู่แข่งอย่างนางดวงใจ สุนทรชัย ผู้สมัครหมายเลข 1 หัวหน้ากลุ่มพลังประชาชนหนองคาย ภรรยาของว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคายเขต 1 ที่ได้คะแนน 78,101 คะแนน ตามมาด้วยนายบุญนำ นิกรเทศ ผู้สมัครหมายเลข 4 ได้คะแนน 19,574 คะแนน นางสิริรัฐ ชูกลิ่น ผู้สมัครหมายเลข 5 ได้คะแนน 16,638 คะแนน และ นายสุเมธ พรมพันธ์ห่าว ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้คะแนน 15,723 คะแนน
ส่วน ส.อบจ.ใน 30 เขต ปรากฏว่า ผู้สมัครจากกลุ่มรักหนองคาย ลูกทีมของนายยุทธนา ศรีตะบุตร คว้าชัยชนะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.อบจ.หนองคาย ครบทุกทั้ง 30 คนในทุกเขต.

หนองบัวลำภู
นายศราวุธ สันตินันตรักษ์
ฐานเสียงของตระกูลสันตินันตรักษ์และหัตถสงเคราะห์
การเลือกตั้งในวันที่ 28 กันยายน 2551 แน่นอน...สภากาแฟในจังหวัดต่างจับกลุ่ม วิเคราะห์กันว่าใครจะเข้าไปนั่งบริหารในสภา อบจ. หนองบัวลำภู เพราะคู่แข่งขันนั้นมีฐานเสียงไม่ธรรมดาเลย
เริ่มด้วยผู้สมัครหมายเลข 1 นายแพทย์ศราวุธ สันตินันตรักษ์ แพทยศาสตรบัณฑิต นิติศาสตรบัณฑิต และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู สมัยที่ผ่านมา ลงสนามการเลือกตั้งในนาม “กลุ่มรักษ์หนองบัว” โดยชูสโลแกนที่ว่า “จังหวัดหนองบัวลำภู ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” พร้อมนโยบาย 3 ด้าน 8 แนวทาง มีฐานเสียงของ ส.อบจ. ที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ รวมถึงผลงานที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาร่วม 4 ปี ที่ประชาชนในระดับรากหญ้ารู้จักดี และเป็น “หมอ” ผู้เสียสละคนหนึ่ง
สำหรับหมายเลข 2 นายเทียนชัย ศรีกาญจนา พื้นฐานการศึกษาปริญญาตรี และกำลังศึกษาต่อปริญญาโทที่นิด้า เป็นอดีต ส.อบจ. 4 สมัย และล่าสุดอดีตประธานสภา อบจ. ที่สวมเสื้อ “กลุ่มพลังประชาชน” ลงสมัครเป็นนายก อบจ. โดยชูวิสัย ทัศน์ว่า “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมประสานนโยบายสู่ การพัฒนาท้องถิ่น” สำหรับ นายเทียนชัย ถือว่าเป็นผู้สมัครนายก อบจ. ที่มีความรู้ความสามารถอีกคนหนึ่งชนิดที่ว่าเป็นคนที่ “พบง่าย เข้าถึง พึ่งได้” นั่นคือ มโนปณิธานของ นายเทียนชัย ผู้เสนอตัวเพื่อขออาสาเป็นนายก อบจ. หนองบัวลำภู มาครั้งนี้คะแนนจึงสูสีอย่างมาก
ขณะที่ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 3 นายจักรพงษ์ สันตินันตรักษ์ ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมสายโลหิต นพ.ศราวุธ เป็นอดีตบอร์ด อบจ.หนองบัว ลำภู ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ของสภากาแฟว่า ในการลงสมัครของ นายจักรพงษ์ ครั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางการเมือง เพราะขนาดการเมืองสนามระดับประเทศยังมีเปลี่ยนแปลงกันได้เลย แล้วการเมืองท้องถิ่นจะมีอะไรแน่นอน
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.หนองบัวลำภู ที่หย่อนบัตรกันไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา ผลการนับคะแนนปรากฏว่า นพ.ศราวุธ สันตินันตรักษ์ ซึ่งเป็นอดีตนายกสมัยล่าสุดได้รับการเลือกตั้งเป็น นายก อบจ.หนองบัวลำภู โดยได้ 90,348 คะแนน เอาชนะนายเทียนชัย ศรีกาญจนา ที่ได้ 57,159 คะแนน และนายจักรพงษ์ สันตินันตรักษ์ ที่ได้ 1,010 คะแนน

อำนาจเจริญ
นพ.ชัยพร ทองประเสริฐ
ฐานเสียงของตระกูลเงินหมื่น
ผลคะแนน
1.นพ.ชัยพร ทองประเสริฐ 65,721 อดีตนายก อบจ.คนเก่าเป็นอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
2.นายศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ 56,593 อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
3.นายอนันต์ จันทร์เหล่อ 19,775 อดีต ส.อบจ.อำนาจเจริญ 2 สมัย และเป็นอดีตประธานสภา อบจ.อำนาจเจริญ

อุดรธานี
นายหาญชัย ทีฆธนานนท์
ฐานเสียงของตระกูลสนิทวงศ์ชัย ,ไชยสาส์น และพรรคเพื่อไทย
การเลือกตั้งกันในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2551 ดูจะเข้มข้นกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่ว่ามีคนมีชื่อเสียงของจังหวัดหลายคนต่างจับจ้องจะขอนั่งเก้าอี้ ผู้บริหาร “อบจ.” ตัวนี้ให้ได้
โดยเริ่มจาก นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย อดีตนายก อบจ.สมัยที่ผ่านมา อดีตเคยเป็น ส.ส.อุดรธานี มาแล้วหลายสมัย และยังเคยนั่งตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มาแล้ว นายเฉลิมพล ยังคงมีฐานเสียงอยู่ในกำมือมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หรือ ส.อบจ. และจากชาวบ้านรอบนอก
แต่ไม่ใช่ว่าคู่แข่งคนอื่นจะสู้ไม่ได้ เพราะชื่อชั้นและความเป็นนักธุรกิจชื่อดัง หรือคนหนุ่มไฟแรงอย่างเช่น นายหาญชัย ฑีฆธนานนท์ อดีต นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี 2 สมัย ผู้ที่เคยฝากผลงานในการบริหารเทศบาลนครอุดรธานีในหลาย ๆโครงการ จนสร้างชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วประเทศมาแล้ว คราวนี้ผันตัวเองมาสู้ศึกในสนามที่ใหญ่กว่า โดยมี อดีต ส.อบจ.หลายคนมาร่วมทีมด้วย นอกจากนั้นยังมีกระแสข่าวการสนับสนุนจาก นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ จากพรรคพลังประชาชน ที่เคยประกาศว่า ส.ส.อุดรธานี ของพรรคทั้ง 9 คนจะให้การสนับสนุน นายหาญชัย ในการเลือกตั้ง นายก อบจ.ครั้งนี้ด้วย ทำให้มองดูแล้วการเลือกตั้งนายก อบจ.ในครั้งนี้ เป็นศึกหนักที่เรียกได้ว่าจะเป็นศึก “ช้างชนช้าง” ก็ว่าได้
โดย นายหาญชัย มีนโยบายในการพัฒนาจังหวัดอยู่ 8 ข้อ คือ 1. สร้างโอกาสการศึกษา, กีฬาให้ก้าวหน้าและทัดเทียม 2. ร่วมคิด ร่วมทำนำชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียง 3. พัฒนาแหล่งน้ำทุกชุมชน แก้จนทุกครัวเรือน 4. ถนนดีถ้วนทั่ว ทุกครอบครัวก้าวไกล 5. สวัสดิการชุมชน ที่ทุกคนเข้าถึง และเป็นธรรม 6. สังคมปลอดภัย ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนน่าอยู่ 7. ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมประสาน นโยบายสู่การพัฒนา และ 8. เพิ่มผลผลิต พิชิตน้ำมันแพง
กระแสข่าวการต่อสู้สนาม อบจ.อุดรธานี ในช่วงที่ผ่านมา ดูเหมือนจะมีการต่อสู้กันอยู่แค่ 2 คนเท่านั้นเอง แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาประเทศไทย ก็มีข่าวและป้ายหาเสียงของ นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ อดีต ส.ส.อุดรธานี หลายสมัย ติดอยู่ไปทั่วจังหวัด โดยระบุว่าได้รับการสนับสนุนจากพรรคพลังประชาชน ทำให้ชาวบ้านงงและสับสนอยู่ว่า ใครคือบุคคลที่พรรคพลังประชาชนให้การสนับสนุนอย่างแท้จริงในศึกเลือกตั้ง นายก อบจ.ครั้งนี้
ทั้งนี้ นายเกียรติชัย ได้กล่าวว่า ที่ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี เพราะที่ผ่านมาเคยรับตำแหน่งสำคัญมาแล้วหลายตำแหน่ง แต่ยังไม่เคยได้เป็นนายกเลย จึงตัดสินใจว่า เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ก็อยากจะขอมาลองเป็นนายก อบจ.ดูสักครั้งหนึ่ง โดยมีนโยบายอยู่ 4 ข้อคือ 1. ปรับปรุง ก่อสร้าง ราดยางถนน อบจ. ทุกสายไร้หลุมบ่อ 2. ขุดบ่อ ก่อสร้างฝาย ห้วยหนองครบทุกหมู่บ้าน 3. ส่งเสริมการศึกษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม และ 4. พัฒนา และส่งเสริมอาชีพ ตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง
ไม่รู้ว่า “ใครจะเป็นหมู่เป็นจ่า” เพราะศึกครั้งนี้แต่ละคนบอกว่าได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองชื่อดัง แต่ที่แน่ ๆ ที่น่าเชื่อได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงของ ส.ส.อุดรธานี ทั้ง 9 คน ที่ได้ประกาศเอาไว้แล้วว่าจะช่วยเหลือคือ นายหาญชัย เพราะต้องการสนับสนุนคนหนุ่มไฟแรงและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานกว้างไกล ก้าวไกลที่ไวกว่า เมื่อพิจารณาดูจากรูปการณ์แล้วศึกชิงเก้าอี้นายก อบจ.ครั้งนี้ แชมป์จะรักษาเก้าอี้ตัวเดิมไว้ได้หรือไม่ หรือจะเป็นคนหนุ่มไฟแรงสามารถคว้าชัยชนะมานั่งเก้าอี้ตัวนี้แทน หรืออาจเป็นไปได้ว่า เก้าอี้ตัวนี้อาจจะตกไปอยู่กับอดีต ส.ส.รุ่นเก๋า จึงเห็นได้ว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้หนักหนาสาหัสพอสมควร และเป็นศึก “ช้างชนช้าง” อย่างแท้จริง เพราะต่างฝ่ายต่างยอมกันไม่ได้ เรียกได้ว่า “แพ้ไม่ได้” นั่นเอง
สำหรับ จ.อุดรธานี มีเขตการปกครองทั้งหมด 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,810 หมู่บ้าน ประชากร 1,516,839 คน เป็นชาย 759,238 คน หญิง 757,601 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,118,841 คน เป็นชาย 554,270 คน หญิง 564,571 คน 
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี หรือ อบจ.และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี หรือ ส.อบจ.เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่านายหาญชัย ฑีฆธนานนท์ อดีตนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี ผู้สมัครหมายเลข 2 จากกลุ่มพลังประชาชนอุดรธานี มีคะแนนนำมาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 252,572 คะแนน อันดับ 2 นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย อดีตนายก อบจ.อุดรธานี ผู้สมัครหมายเลข 3 จากกลุ่มรักเมืองอุดร มี 102,067 คะแนน และอันดับ 3 นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ อดีต รมช.มหาดไทย มี 90,406 คะแนน ส่วนผลการนับคะแนนสมาชิกสภา อบจ.อุดรธานี 42 เขต ปรากฏว่า กลุ่มพลังประชาชนอุดรธานี ของนายหาญชัย ได้รับเลือกเข้ามารวม 23 ที่นั่ง กลุ่มรักเมืองอุดร ของนายเฉลิมพล ได้รับเลือกตั้งเข้ามา 5 ที่นั่ง กลุ่มนายเกียรติชัย ได้รับเลือกเข้ามา 6 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระได้รับเลือก 7 ที่นั่ง เหลืออีก 1 ที่นั่งคือเขต 10 อ.เมือง ยังมีปัญหากันอยู่เนื่องจากหีบบัตรถูกเปิดออกก่อนส่งกรรมการ จึงมีการนำหีบบีตรดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่ห้องขัง สภ.อุดรธานี 
สำหรับนายหาญชัย ฑีฆธนานนท์ เป็นเจ้าของโรงแรมเจริญศรีแกรนด์ อดีตนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี การย้ายสนามการเมืองลงเลือกตั้งนายกอบจ.ครั้งนี้มีกลุ่มส.ส.พรรคพลังประชาชน ให้การสนับสนุน 

อุบลราชธานี
นายพรชัย โควสุรัตน์
ฐานเสียงของตระกูลโควสุรัตน์ ,กัลป์ตินันท์ ,นามบุตร และจินตะเวช
สำหรับนายกานต์ได้รับการสนับสนุนจากลุ่ม ส.ส.ทั้งในซีกพรรคพลังประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย โดยตามจุดที่นายกานต์ตระเวนปราศรัยจะมีกลุ่ม ส.ส.ของพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคมากล่าวแนะนำและขอให้ผู้มีสิทธิช่วยลงคะแนนเลือกนายกานต์ เพื่อสู้กับนายพรชัย โควสุรัตน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากพรรคเพื่อแผ่นดิน
โดยการปราศรัยนายกานต์ได้หยิบเอาผลงานที่ได้ทำไว้สมัยเป็นนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดทั้งเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม การส่งเสริมอาชีพกลุ่มสตรีแม่บ้าน การสนับสนุนการเล่นกีฬาอาชีพและกีฬาสมัครเล่น การช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีรายได้ และการจัดโครงการ อบจ.เคลื่อนที่ให้บริการครบวงจรแก่ประชาชนที่อยู่ตามท้องถิ่นชนบท
ส่วนนายพรชัยได้พูดถึงการส่งเสริมปลูกมันสำปะหลังและปลูกปาล์มเป็นอาชีพเสริม การกระจายรถไถนาไปตามชุมชน การให้รถสนับสนุนช่วยเหลือนำคนเจ็บป่วยไปโรงพยาบาล และการสนับสนุนโรงเรียนตามชนบท
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี ปรากฏว่า นายพรชัย โควสุรัตน์ อดีตนายก อบจ. หัวหน้ากลุ่มคุณธรรม ได้คะแนนสูงสุด 413,353 คะแนน เอาชนะนายกานต์ กัลป์ตินันท์ หัวหน้ากลุ่มพลังประชาชนอุบลฯ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 สมัย น้องชายนายเกรียง กัลป์ตินันท์ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย ซึ่งนายกานต์ได้ 260,872 คะแนน ส่วนผลการเลือกตั้ง ส.อบจ. 42 เขต ปรากฏว่า ลูกทีมกลุ่มคุณธรรมได้รับเลือกตั้ง 23 คน ส่วนลูกทีมกลุ่มพลังประชาชนอุบลฯได้รับเลือกตั้ง 19 คน

ผลคะแนนเมื่อสมัยที่แล้ว
http://www.kanchanaburi.com/kannews/00599.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น