ป้ายกำกับ

Google (13) forum (12) webboard (12) กระดานสนทนา (12) ethic (10) มารยาท (10) politic (9) การเมือง (9) election (6) life (6) life style (6) local (6) การเลือกตั้ง (6) ชีวิต (6) ท้องถิ่น (6) cartoon (5) history (5) การ์ตูน (5) ประวัติศาสตร์ (5) แบบแผนชีวิต (5) family (4) freetalk (4) manga (4) strategy (4) war (4) ยุทธศาสตร์ (4) สงคราม (4) สนทนาทักทาย (4) data (3) download (3) sun tzu (3) ข้อมูล (3) ครอบครัว (3) ซุนวู (3) ระเบียบวิธี (3) Algorithm (2) administration (2) art (2) book (2) buddhist (2) business (2) chatroom (2) fiction (2) instruction (2) learning (2) management (2) methodology (2) monk (2) philosophy (2) search (2) society (2) technology (2) thai (2) website (2) การเรียนรู้ (2) ค้นหา (2) จัดการ (2) ธุรกิจ (2) นิยาย (2) บริหาร (2) ปรัชญา (2) พระสงฆ์ (2) พุทธศาสนา (2) ภาษาไทย (2) วิธีใช้ (2) สังคม (2) หนังสือ (2) ห้องสนทนา (2) เทคโนโลยี (2) E-mail (1) Facebook (1) Gmail (1) Thailand (1) Twitter (1) Youtube (1) ads (1) artbook (1) artist (1) birthplace (1) blog (1) city (1) communication (1) computer (1) concubine (1) discuss (1) eating (1) fallacy (1) father (1) focus (1) food (1) future (1) growth (1) height (1) homeland (1) ink (1) internet (1) introduce (1) language (1) lie (1) logic (1) marketing (1) morale (1) open (1) paper (1) parents (1) political party (1) printer (1) procedure (1) profile (1) reader (1) scan (1) service (1) spam (1) start (1) studybook (1) sufficient (1) system (1) thanks (1) thin (1) three kingdoms (1) topic (1) traveling (1) uthaithani (1) video (1) weblog (1) webmaster (1) weight (1) กระดาษ (1) กระทู้ (1) การกิน (1) การตลาด (1) การสื่อสาร (1) การเดินทาง (1) การเติบโต (1) ขยะข้อมูล (1) ขอบคุณ (1) ข้อปฏิบัติ (1) คติธรรม (1) ความสูง (1) คอมพิวเตอร์ (1) ตรรกะวิบัติ (1) ตรรกะศาสตร์ (1) ตระกูล (1) ตอแหล (1) นักอ่าน (1) น้ำหนัก (1) บรรพชน (1) บริการ (1) บ้านเกิด (1) บ้านเกิดเมืองนอน (1) ประเทศไทย (1) ผอม (1) พรรคการเมือง (1) พอเพียง (1) พ่อ (1) ภาษา (1) มุมมอง (1) ระบบ (1) วิจารณ์ (1) ศิลปิน (1) ศีลธรรม (1) สามก๊ก (1) หมึก (1) อนาคต (1) อาหาร (1) อุทัยธานี (1) เครื่องพิมพ์ (1) เมียน้อย (1) เมือง (1) แนะนำตัว (1) แบบเรียน (1) โฆษณา (1)

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำราพิชัยสงครามซุนวู(ภาคจบ)

บทที่ ๑๒ วางเพลิง
แผนวางเพลิงมี 5 ชนิด

1. คือ เผาคนและม้าของทัพข้าศึก

2. คือเผาเสบียงและหญ้าที่ข้าศึกเก็บสะสมไว้

3. คือเผาอาวุธและปัจจัยที่ใช้ในการรบและดำรงชีวิตในกองทัพอื่นๆ ของข้าศึก

4. คือ เผาคลังของข้าศึก

5. คือ เผาสิ่งที่ใช้ในการบรรทุกขนส่งของข้าศึก



ในการใช้แผนวางเพลิงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์และปัจจัยเตรียมพร้อม อุปกรณ์ที่จะใช้จุดไฟจะต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา และยังต้องเลือกจุดไฟในเวลาที่จะเป็นประโยชน์ที่สุด ต้องเลือกเวลาที่จะวางเพลิงให้แม่นยำ

อันว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นคือ ช่วงเวลาที่อากาศแห้ง

อันว่าวันเวลาที่เหมาะสมนั้นคือ วันที่ลมพัดแรง


อันแผนวางเพลิงนั้น จะเลือกใช้รูปแบบใดใน 5 แบบข้างต้น ต้องพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพที่บังเกิด จากนั้นใช้กำลังทหารหนุนเสริม

การวางเพลิงจากภายในทัพศัตรู ต้องรีบส่งทหารไปหนุนเสริมจากภายนอกแต่เนิ่นๆ

เมื่อไฟเริ่มโหม แต่ทัพข้าศึกยังคงรักษาความสงบเยือกเย็นอยู่ได้ ต้องรอสังเกตการณ์ก่อน อย่าจู่โจมในทันที หากจู่โจมไม่ได้ก็ให้หยุด

การวางเพลิงนั้น ยังสามารถวางเพลิงจากภายนอกได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ไม่จำเป็นต้องรอการสนับสนุนจากการก่อกวนภายในกองทัพข้าศึก ขอเพียงช่วงเวลาและปัจจัยต่างๆ เหมาะสมแก่กาล ก็สามารถวางเพลิงได้

ให้วางเพลิงที่เหนือลม อย่าวางเพลิงที่ใต้ลม

กลางวันลมพัดนานแล้ว กลางคืนลมจะหยุด กองทัพควรจะทราบความเปลี่ยนแปลงในการใช้แผนวางเพลิงทั้ง 5 ชนิด รอจนทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงค่อยวางเพลิง


การใช้ไฟช่วยจู่โจม ผลลัพธ์มองเห็นได้อย่างชัดเจน

ใช้น้ำช่วยจู่โจม อานุภาพแข็งแกร่ง

น้ำสามารถตัดแบ่งทัพศัตรูให้ขาดออกจากกันได้ แต่ไม่อาจสู้ไฟที่สามารถเผาเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของข้าศึกได้


เมื่อชนะสงคราม ยึดดินแดนได้แล้ว แต่ไม่อาจทำให้ชัยชนะนั้นมีเสถียรภาพได้ จัดว่าอันตรายมาก นี่เรียกว่า “เปล่าประโยชน์” ดังนั้นราชาผู้ปราดเปรื่องจะต้องคิดถึงปัญหานี้ให้จงหนัก แม่ทัพที่ปราดเปรื่องจะต้องจัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง

หากการใช้กำลังทหารในยามนั้นไม่เป็นผลดีต่อประเทศ ก็ห้ามใช้กำลังทหารเด็ดขาด หากไม่แน่ใจว่าจะชนะ ก็ห้ามเคลื่อนทัพโดยตามใจชอบ หากไม่ถึงคราวจำเป็นจริงๆ อย่าก่อศึกโดยพลการ

ราชาจะก่อศึกเพียงเพราะความโกรธชั่ววูบไม่ได้ แม่ทัพจะเข้าปะทะกับข้าศึกเพราะความโกรธชั่ววูบไม่ได้ จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเท่านั้น หากไม่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ก็ให้หยุดยั้งเสีย

เมื่อโกรธแล้วอาจเปลี่ยนเป็นอารมณ์ดีอีกครั้งได้ เดือดดาลแล้วอาจแปรเป็นยินดีได้ แต่เมื่อประเทศล่มสลายแล้วมันจะไม่คงอยู่อีกต่อไป คนตายไปแล้วจะไม่อาจฟื้นคืนได้อีก ดังนั้น ราชาที่ลาดจะต้องให้ความระมัดระวังต่อการทำสงครามอย่างยิ่งยวด แม่ทัพที่ดีก็ต้องตื่นตัวรอบคอบต่อปัญหาเรื่องการทำศึก เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลอันเป็นรากฐานซึ่งเกี่ยวพันถึงความปลอดภัยของกองทัพและประเทศชาติทั้งสิ้น

บทที่ ๑๓ ใช้สายลับ
การยกทัพหนึ่งแสนเดินทางพันลี้ไปรบค่าใช้จ่ายที่ประเทศชาติและประชาชนต้องแบกรับคือวันละพันตำลึงทอง ทั่วประเทศเดือดร้อน ชาวประชาต้องเข้าเกณฑ์แรงงาน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการเดินทาง และประชาที่จะไม่อาจดำเนินการเพาะปลูกยังมีถึงเจ็ดแสนครัวเรือน

ยามทำศึก ทั้งสองฝ่ายตั้งประจันยืดเยื้อหลายปี เพื่อที่จะพิชิตชัยในวันเดียว หากตระหนี่ตำแหน่งและเงินทอง ไม่ยอมใช้สายลับ จนทำให้ไม่อาจเข้าใจสภาพของข้าศึกจนต้องพ่ายแพ้ นั่นก็ “ไม่เมตตา” เกินไปแล้ว แม่ทัพเช่นนี้ ไม่ใช่แม่ทัพที่ดีของกองทัพ ไม่ใช่ผู้ช่วยที่ดีของราชา และราชาเช่นนี้ ก็ไม่ใช่ราชาที่จะชนะศึก

สาเหตุสำคัญที่ราชาที่ปราดเปรื่อง และแม่ทัพที่ดีเลิศ สามารถพิชิตชัยข้าศึกและมีผลงานที่โดดเด่นเหนือใคร คือการทำความเข้าใจสภาพการณ์ข้าศึกกระจ่างก่อนทั้งสิ้น และการทำความเข้าใจสภาพการณ์ของข้าศึกล่วงหน้า ห้ามใช้วิธีงมงายเช่นการเสี่ยงทายทำนายเป็นอันขาด และห้ามใช้เรื่องราวคล้ายกันที่เคยขึ้นมาแล้วในอดีตเป็นตัวอย่างว่าเหตุการณ์ในปัจจุบันจะเป็นดังนั้น แต่จะต้องได้ข้อมูลจากผู้ที่รู้สภาพภายในของข้าศึกอย่างแท้จริง


การใช้สายลับมี 5 ประเภท

ยามใช้สายลับทั้ง 5 ประเภทนี้ จะทำให้ศัตรูไม่อาจทราบระบบระเบียบของเราได้และรับมือไม่ถูก นี่เองที่เรียกว่า “เทพบันดาล” และเป็นวิธีการอันได้ผลอย่างยิ่งที่ราชาจะใช้เอาชนะข้าศึก

อันว่า“สายลับท้องถิ่น” คือ ใช้ชาวบ้านธรรมดาในชนบทของฝ่ายศัตรูเป็นสายลับ

อันว่า “สายลับภายใน” คือ ซื้อตัวขุนนางของฝ่ายศัตรูไว้เป็นสายลับ

อันว่า “สายลับสองหน้า” คือ ซื้อตัวหรือทำให้สายลับที่ศัตรูส่งมาทำงานรับใช้ฝ่ายเรา

อันว่า“สายลับตาย” คือ การที่ฝ่ายเราจงใจวางแผนลวงให้สายลับที่ศัตรูส่งมาเข้าใจผิด และไปบอกแผนลวงแก่ข้าศึกโดยคิดว่าเป็นแผนจริง สายลับเช่นนี้มักถูกฝ่ายศัตรูสังหารทิ้งในภายหลังเสมอ

อันว่า “สายลับเป็น” คือ สายลับที่ทางเราส่งไปสืบสาวความเป็นไปของข้าศึก หลังจากนั้นย้อนกลับมารายงานเรา


ดังนั้น ผู้ที่เชื่อถือได้ในกองทัพ ไม่มีใดเกินไปกว่าสายลับ และไม่มีผู้ใดจะได้รับการปูนบำเหน็จมากมายไปกว่าสายลับอีกแล้ว และไม่มีเรื่องใดจะลึกล้ำรอบคอบไปกว่าการใช้สายลับอีกแล้ว

หากไม่ใช่แม่ทัพที่เปรื่องปราดเป็นพิเศษ จะไม่สามารถใช้สายลับได้

หากไม่ใช่แม่ทัพที่ “มีเมตตาและคุณธรรม” ก็ไม่อาจใช้สายลับได้

หากไม่ใช่แม่ทัพที่มีความละเอียดรอบคอบสูง มีฝีมือยอดเยี่ยมเลิศล้ำ ก็ไม่อาจได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากสายลับได้

หากแผนสายลับยังไม่ถูกใช้ ข่าวก็รั่วออกไป ทั้งสายลับและคนที่สายลับเอ่ยนามมาล้วนต้องโทษประหาร


การจะบุกจู่โจมทัพศัตรู จะบุกยึดเมือง จะบุกสังหารพลทหารของศัตรู จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามและคนสนิทของเขา รวมถึงทหารที่ทำหน้าที่ส่งข่าว ทหารที่ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูเมือง รวมถึงชื่อเสียงเรียงนามของที่ปรึกษาของแม่ทัพทุกคน เหล่านี้ต้องให้สายลับของเราสืบทราบให้กระจ่างชัดทั้งหมด

ต้องทราบถึงสายลับที่ศัตรูส่งมาสืบข่าวของฝ่ายเรา จากนั้นทำการซื้อตัว มอบหมายหน้าที่ แล้วปล่อยกลับประเทศไป เช่นนี้ สายลับของฝ่ายศัตรูก็จะถูกเราใช้ประโยชน์ได้

หลังจากทราบสภาพภายในของศัตรูจากสายลับสองหน้าแล้ว ก็จะสามารถใช้สายลับท้องถิ่นและสายลับภายในได้ เมื่อได้ทราบความเป็นไปของข้าศึกจากสายลับสองหน้า ก็ให้จัดวางกลลวงตบตาสายลับตายให้ไปรายงานต่อฝ่ายข้าศึก จากข้อมูลเรื่องสภาพภายในของข้าศึกที่ได้รู้จากสายลับสองหน้า สายลับเป็นของฝ่ายเราจึงจะสามารถกลับมารายงานสภาพภายในของศัตรูตามเวลาที่นัดหมายกันไว้ได้

การใช้สายลับทั้ง 5 ประเภท ราชาจะต้องรู้และเข้าใจ จุดสำคัญในนั้นคือจะต้องใช้สายลับสองหน้าให้เป็น ดังนั้นจึงมิอาจไม่บำเหน็จรางวัลแก่สายลับสองหน้าอย่างมหาศาล

(จบตำราพิชัยสงครามซุนอู่ รวม 13 บท)

ต้นฉบับคือ "Sunwu bingfa" (ซุนอู่ปิงฝ่า) ของแท้และดั้งเดิม เล่มบางนิดเดียวอย่างที่รู้กัน แปลโดยคุณLinmou

2 เล่มที่ว่านั่น เล่มหลักสุด (และเก่าสุด) ก็
Sunzi bingfa xin zhu อรรถาธิบายและเรียบเรียงโดย Zhanzheng lilun yanjiu bu zhu shi xiao zu (ภาควิจัยทฤษฎีศึก กลุ่มอรรถาธิบาย "ตำราพิชัยสงครามซุนอู่") พิมพ์โดย สนพ.จงฮว๋าซูจวี๋ (Zhonghua shu ju)พิมพ์เมื่อปี 1996 เล่มละ 8.7 หยวน (แต่ซื้อมา 6 หยวน อิอิ)

เล่มที่ 2
Wu Sunzi fe wei (อู๋ซุนจื่อฟาเวย) อรรถาธิบายโดย หลี่หลิง (Li ling) พิมพ์โดย สนพ.จงฮว๋าซูจวี๋ (Zhonghua shu ju) เช่นกัน พิมพ์เมื่อปี 2000 เล่มละ 13 หยวน

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K2506201/K2506201.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น