ป้ายกำกับ

Google (13) forum (12) webboard (12) กระดานสนทนา (12) ethic (10) มารยาท (10) politic (9) การเมือง (9) election (6) life (6) life style (6) local (6) การเลือกตั้ง (6) ชีวิต (6) ท้องถิ่น (6) cartoon (5) history (5) การ์ตูน (5) ประวัติศาสตร์ (5) แบบแผนชีวิต (5) family (4) freetalk (4) manga (4) strategy (4) war (4) ยุทธศาสตร์ (4) สงคราม (4) สนทนาทักทาย (4) data (3) download (3) sun tzu (3) ข้อมูล (3) ครอบครัว (3) ซุนวู (3) ระเบียบวิธี (3) Algorithm (2) administration (2) art (2) book (2) buddhist (2) business (2) chatroom (2) fiction (2) instruction (2) learning (2) management (2) methodology (2) monk (2) philosophy (2) search (2) society (2) technology (2) thai (2) website (2) การเรียนรู้ (2) ค้นหา (2) จัดการ (2) ธุรกิจ (2) นิยาย (2) บริหาร (2) ปรัชญา (2) พระสงฆ์ (2) พุทธศาสนา (2) ภาษาไทย (2) วิธีใช้ (2) สังคม (2) หนังสือ (2) ห้องสนทนา (2) เทคโนโลยี (2) E-mail (1) Facebook (1) Gmail (1) Thailand (1) Twitter (1) Youtube (1) ads (1) artbook (1) artist (1) birthplace (1) blog (1) city (1) communication (1) computer (1) concubine (1) discuss (1) eating (1) fallacy (1) father (1) focus (1) food (1) future (1) growth (1) height (1) homeland (1) ink (1) internet (1) introduce (1) language (1) lie (1) logic (1) marketing (1) morale (1) open (1) paper (1) parents (1) political party (1) printer (1) procedure (1) profile (1) reader (1) scan (1) service (1) spam (1) start (1) studybook (1) sufficient (1) system (1) thanks (1) thin (1) three kingdoms (1) topic (1) traveling (1) uthaithani (1) video (1) weblog (1) webmaster (1) weight (1) กระดาษ (1) กระทู้ (1) การกิน (1) การตลาด (1) การสื่อสาร (1) การเดินทาง (1) การเติบโต (1) ขยะข้อมูล (1) ขอบคุณ (1) ข้อปฏิบัติ (1) คติธรรม (1) ความสูง (1) คอมพิวเตอร์ (1) ตรรกะวิบัติ (1) ตรรกะศาสตร์ (1) ตระกูล (1) ตอแหล (1) นักอ่าน (1) น้ำหนัก (1) บรรพชน (1) บริการ (1) บ้านเกิด (1) บ้านเกิดเมืองนอน (1) ประเทศไทย (1) ผอม (1) พรรคการเมือง (1) พอเพียง (1) พ่อ (1) ภาษา (1) มุมมอง (1) ระบบ (1) วิจารณ์ (1) ศิลปิน (1) ศีลธรรม (1) สามก๊ก (1) หมึก (1) อนาคต (1) อาหาร (1) อุทัยธานี (1) เครื่องพิมพ์ (1) เมียน้อย (1) เมือง (1) แนะนำตัว (1) แบบเรียน (1) โฆษณา (1)

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มุมมองขอบข่ายลำดับการเรียนรู้ของกรรมกรกระทู้

การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดตราบใดที่เรายังมีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่
คำกล่าวนี้ยังเป็นจริงเสมอ เพราะเราเกิดมีความไม่รู้(อวิชชา)อยู่กับตัว ทำให้เกิดความคิดปรุงแต่ง(สังขาร)นำไปสู่ความรู้สึก(วิญญาณ) เกิดทางแห่งการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่รู้อย่าง(สฬายตนะ(สฬ+อายตนะ))ได้สัมผัส(ผัสสะ)เกิดเวทนา ตามด้วยความอยาก(ตัณหา) ก่อเกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
ทั้งหมดนี้คือปฏิจสมุทบาท วงจรการเวียนว่ายตายเกิดที่พระพุทธองค์ท่านสอนไว้ วิชาการต่างๆที่เราเรียนรู้มานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งกฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติที่ศาสนาพุทธเข้ามามีเอี่ยวได้เช่นกัน

ช่วงที่ผมยังเป็นเด็กอยู่นั้น ผมไม่ค่อยสนใจเรื่องเรียนอาจจะเพราะว่าเมื่อเรายังเด็กคงจะสงสัยอยู่ว่า เราจะเรียนรู้ไปเพื่ออะไร ก็มันไม่เห็นจะสนุกเหมือนการเล่นเกม ดูการ์ตูนหรืออย่างอื่นตรงไหนเลย
เพราะแบบนั้นมั๊งผมถึงเรียนได้คะแนนไม่ดีเอาซะเลยในช่วงป.1-3 ปี2531เมื่อผมขึ้นป.4 ผมได้อ่านหนังสือการ์ตูนความรู้ของซีเอ็ดยูเคชั่น ลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์Gakken ซึ่งแม่ซื้อมาให้2ชุดใหญ่ชุดละ9เล่มรวมแล้วก็18เล่มด้วยกัน ทำให้ผมรู้ว่าการเรียนรู้นั้นสามารถทำให้มันเป็นเรื่องสนุกและน่าติดตามได้เหมือนการ์ตูนหลายๆเรื่องที่มีให้อ่านในตอนนี้เหมือนกัน ทำให้ผมเริ่มหันมาสนใจการเรียนมากขึ้น
โดยเฉพาะคณิตศาสตร์เพียงแค่ใช้ความเข้าใจเพียงนิดเดียวก็สามารถทำโจทย์ออกมาได้อย่างสบายๆแล้วครับ วิชานี้เราเอามาใช้ในคำนวณตัวเลขบัญชีการเงินในองค์กรธุรกิจซึ่งคอยเลี้ยงชีพเรา
ส่วนภาษาไทย สังคมนั้นคะแนนออกมาไม่ดีเท่าไหร่แต่ในช่วงหลังเมื่อไม่นานมานี่เมื่อได้ลองอ่านหนังสือตีแผ่ประวัติศาสตร์โดยเฉพาะนิตยสารต่วยตูนมันก็ทำให้ผมหันมาสนใจศาสตร์พวกนี้ได้เช่นกัน รวมไปถึงศาสตร์วัฒนธรรมซึ่งเป็นรากเหง้าของสังคมและประวัติศาสตร์ด้วย เพราะประวัติศาสตร์ต้องดำเนินภายใต้กฏเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ศาสนา จิตวิทยาความสัมพันธ์ เศรษฐกิจ ฯลฯ ทุกอย่างล้วนแต่มีความเกี่ยวพันกันหมดแยกกันมิได้เลย
ต่อมาพูดถึงวิทยาศาสตร์มั่ง เราเริ่มเรียนกันจริงๆก็ประมาณ ป.5 ช่วงนั้นผมไม่ค่อยสนใจมันสักเท่าไหร่มาสนใจจริงจังก็ตอนม.2 ช่วงนั้นผมได้คะแนนวิทยาศาสตร์ดีมากเลย คาดว่าผมคงได้อิทธิพลจากการ์ตูนความรู้วิทยาศาสตร์อยู่พอสมควรเหมือนกันเลย 
พอได้เรียนฟิสิกส์ เคมี และชีวะได้คล่องเลยเมื่อเข้าเรียนในม.ปลาย ช่วงนี้แม่ผมเริ่มซื้อหนังสือคู่มือเตรียมสอบมากมายซึ่งผมก็ได้ฟรีจากโปรโมชั่นการนำชีทข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของโรงเรียนแยกตามระดับชั้น สถานศึกษา ปีการศึกษาเป็นชุดๆ ไปแลกหนังสือกับอาจาร์ยที่ศูนย์แอพพลายฟิสิกส์ซึ่งมีคู่มือเตรียมสอบหลายวิชาของสำนักพิมพ์ไฮเอ็ดออกขายหลายเล่มเลย ซึ่งผมก็ได้ข้อสอบจากโรงเรียนคุณแม่และของโรงเรียนผมเองไปแลกได้หนังสือมาหลายเล่มเลย ผมก็เลยกลายเป็นคนบ้าสะสมหนังสือสาระนับแต่นั้นมา
เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยได้ผมเริ่มบ้าซื้อสะสมหนังสือสาระอุดมปัญญา โดยเฉพาะหนังสือของรีดเดอร์ไดเจสท์ราคาเล่มละเป็นพันขึ้นนับถึงตอนนี้ก็10เล่มขึ้นไปแล้วครับ เนื้อหาก็หลากหลายกันไป
หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ผมเพิ่งหันมาสนใจในเรื่องนี้เมื่อเห็นว่าเราเองก็อยากจะรวยล้นฟ้า มีเงินใช้ซื้อโน่นซื้อนี่ได้ แน่นอนมันก็ต้องเอาไปลงทุนสิ ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สิง่ายสุดแล้ว ได้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี๊ยในธนาคารซะอีก แต่มันไม่ง่ายยังงั้นนะสิ เพราะถ้าเกิดผิดพลาดธุรกิจล้มขึ้นมาเงินที่เราลงไว้ก็จะสูญหายไปทั้งหมด จะลงทุนอะไรต้องมีหลักการโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ บัญชีพาณิชย์ เข้ามามีเอี่ยวจนได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าเรียนรู้ไว้ใช้ในอนาคตข้างหน้าเช่นกัน
หนังสือคอมพิวเตอร์ เนื่องจากว่าวงการนี้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมากมายในเวลาแค่ไม่กี่สิบปีเท่านั้น ทำให้หนังสือที่ซื้อไปหมดคุณค่าภายในเวลาไม่นาน ผมเลยเลิกซื้อหนังสือประเภทนี้ไปเลยหลังจากที่เคยบ้าซื้อมาในช่วงที่ยังอยู่ม.ปลาย จะซื้อเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญที่ใกล้ตัวเราเท่านั้น ส่วนเรื่องการใช้โปรแกรมอันนั้นผมจะไม่ซื้อเลย เพราะโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็วมากครับ
หนังสือทำอาหารของสำนักพิมพ์แม่บ้านอีกหลายสิบเล่ม เนื่องจากชีวิตคนเราอยู่ได้ด้วยอาหาร ศาสตร์แห่งการทำอาหารจึงต้องเข้ามามีบทบาทตรงนี้แม้ว่าเราจะไม่ชอบทำอาหารนักก็ตาม ควรจะเรียนรู้ไว้สักหน่อยก็ยังดีนา เรื่องนี้เพิ่งตามซื้อเก็บมาหลังจากทำงานหาเงินได้แล้วละครับ
เรื่องของหนังสือไว้รออ่านในแผนการWeblogครั้งต่อไปละกันนะครับ เพราะมีเก็บไว้เยอะจนชั้นหนังสือจะรับไม่ไหวแล้วละครับ
ช่วงที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ แรกๆผมเคยเรียนวิศวะอยู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่หลังๆผมถึงได้ทราบว่าสมองผมเริ่มจะถูกใช้งานหนักมากโดยเฉพาะในเรื่องการคำนวณอย่างกลศาสตรฺวิศวกรรม วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคส์ จนรับไม่ไหวเรียนมาได้2-3ปี ผมก็ต้องลาออกมาแล้วหันไปเลือกเรียนวิชาเนื้อหาเบาๆเน้นปฏิบัติอย่างสหเวชศาสตร์(เทคนิคการแพทย์)ไปซึ่งก็ได้ประสบการณ์กันไปคนละแบบ
เทคนิคการแพทย์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์สาขาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายมนุษย์ในเรื่องของการตรวจทางห้องปฏิบัติการหาสาเหตุของการเกิดโรคจากในเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ด้วยกระบวนการทางเคมี(หาปริมาณของสารในร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติ) วิทยาภูมิคุ้มกัน(ตรวจหาสารหรือเชื้อโรคจากการจับกันโดยจำเพาะของโปรตีนภูมิคุ้มกันในร่างกาย) และ จุลชีววิทยา(เพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจเพื่อระบุชื่อและชนิดของตัวเชื้อก่อโรค)
เมื่อทำงานหาเงินได้คราวนี้ละเลยถือโอกาสกว้านซื้อการ์ตูนดังๆเนื้อหาดีๆที่ชื่นชอบ รวมถึงหนังสือสาระอื่นๆ

ผลการเรียนของผมนั้นไม่ถือว่าเก่งมากถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ เซียนเกรดเฉลี่ยระดับ3.5ขึ้นไปนั้นเลย 
อาจเป็นเพราะผมไม่ค่อยชอบสนใจจนถึงขั้นแตกฉานลึกซึ้งนักเหมือนกับคนที่ขุดดินหาสมบัติจนได้หลุมลึกแล้วแต่ตัวเองกลับพอใจที่จะขุดต่อไป เพราะจะได้เจอกับสมบัติที่ตัวเองชอบและต้องการ
ในขณะที่ผมกลับเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้สาระในระดับแตกฉานถึงแก่น เสมือนคนที่ขุดดินไปลึกพอสมควรก็เริ่มเบื่อหน่ายเพราะเมื่อได้สมบัติมาพอสมควรในช่วงตื้นๆแล้ว ลึกลงไปกลับหาสมบัติเจอได้ยากมากขึ้น ก็เริ่มหันมาขุดหลุมอื่นๆตามมาแต่ดูแล้วก็ไม่เป็นหลุมเอาซะเลย เหมือนเอาจอบถากขูดดินในแนวกว้างออกไปทีละนิดๆเนื่องจากต้องการสมบัติหลายๆชิ้นแตกต่างกันไปให้ได้จำนวนมากๆ ในเวลาที่รวดเร็วและความพยายามไม่มากจนเกินไป แม้ว่าสมบัติพวกนั้นหลายคนไม่ได้ใช้ แต่ก็มีอีกหลายคนเขาใช้กัน ถ้าเราตั้งใจจะใช้สมบัตินั้นในอนาคตเราก็สามารถหยิบเอามาใช้ได้เลย พอใจเมื่อไหร่เราก็ค่อยๆถากมันไปลึกลงไปเรื่อยๆซึ่งแบบนี้ใช้เวลานานมากครับกว่าจะแตกฉานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
การทำแบบนี้แม้จะทำให้เราคิดทำอะไรก็ได้ผลไม่ดีอยู่เรื่อยไปเหมือนคนจับปลาสองมือ แต่ผมกลับสนุกที่จะทำเช่นนั้นครับ ชีวิตมีรสชาติไม่น่าเบื่อด้วย
และเรื่องบางเรื่องนั้นรู้แค่ไหนจึงจะเพียงพอไม่จำเป็นต้องเจาะลึกลงไปมากนัก เราสนใจแค่นั้นก็เท่านั้นละอยู่ที่ความชอบนะ
ใครจะเป็นอย่างผมละก็ให้แน่ใจว่าจะไม่ทำให้เป้าหมายในชีวิตหรือหนทางข้างหน้าต้องพังทลายลงไปซะก่อนนะครับ
รู้สึกว่าผมยังเรียบเรียงเนื้อหาของหัวข้อBlogนี้ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ ผมอาจจะมีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อความเหมาะสมในโอกาสต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น